ผิดสัญญาหมั้น ฟ้องเรียกค่าทดแทนอะไรได้บ้าง ?
การที่จะฟ้องเรียกเรียกเอาค่าทดแทนจากการผิดสัญญาหมั้นได้นั้น จะต้องมีการผิดสัญญาหมั้นกันเกิดขึ้นก่อน ในมาตรา 1439 ที่สามารถให้เรียกเอาได้ โดยที่จะต้องมีการหมั้นเสียก่อน หากยังไม่มีการหมั้นเกิดขึ้น ก็ไม่อาจที่จะมีการผิดสัญญาหมั้นได้ ในการเรียกค่าทดแทนตามกฎหมาย ไม่ได้จำกัดเฉพาะชายหรือหญิงคู่หมั้นเท่านั้นที่จะฟ้องเรียกค่าทดแทนได้ บิดามารดา ผู้ปกครองของผู้ที่เป็นคู่สัญญาหมั้นก็มีสิทธิเรียกค่าทดแทนได้เช่นกัน
ค่าทดแทนในกรผิดสัญญาหมั้น ที่ต่างฝ่ายมีสิทธิจะฟ้องร้องกันได้มีแต่เฉพาะที่กำหนดไว้มาตรา 1440 ซึ่งกำหนดไว้เพียง 3 กรณีเท่านั้น คือ
(1).ค่าทดแทนความเสียหายต่อกายหรือชื่อเสียงของชายหรือหญิงนั้น
ค่าทดแทนความเสียหายต่อร่างกาย คือ ค่าทดแทนที่เกินจากการล่วงเกิน การกอด การจูบ ฯลฯ ที่มีการเกิดขึ้นได้ในทางธรรมดาของชายและหญิงที่เป็นคู่หมั้น
ค่าทดแทนความเสียหายต่อชื่อเสียง เช่น การที่ชายและหญิงมีการหมั้นกันเกิดขึ้น แต่ต่อมาชายปฎิเสธไม่ยอมสมรสกับหญิง หญิงคนนั้นอาจได้รับความอับอาย และอาจเป็นที่รังเกียจต่อชายอื่นๆ
ค่าทดแทนตามมาตรา 1440(1) เป็นหน้าที่นำสืบของฝ่ายที่เรียกร้องเอาทดแทนให้ศาลเห็นว่าตนได้รับความเสียหายต่อกายหรือชื่อเสียงมากน้อยเพียงใด
คำพิพากษาฎีกาที่ 3366/2525 จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยรับผิดใช้ค่าทดแทนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1439,1440
การกำหนดค่าทดแทนความเสียหายต่อกายและชื่อเสียงของโจทก์นั้นต้องพิเคราะห์ถึงการศึกษาอาชีพและรายได้ของโจทก์ฐานะของครอบครัวของโจทก์และการที่โจทก์เป็นหญิงมาอยู่กินกับจำเลยจน มีบุตรแต่จำเลยไม่ยอมจดทะเบียนสมรสทำให้โจทก์ได้รับความอับอายเสียชื่อเสียงทั้งเป็นการยากที่จะทำการสมรสใหม่
ก่อนรับหมั้นจำเลย โจทก์ทำงานอยู่บริษัทฯ เมื่อแต่งงานแล้วโจทก์ได้ลาออกจากงานเพื่อมาช่วยงานบ้านจำเลยถือได้ว่าโจทก์ได้จัดการเกี่ยวกับอาชีพโดยสมควรด้วยการคาดหมายว่าจะได้มีการสมรสเมื่อจำเลยไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าทดแทนความเสียหายส่วนนี้ได้แต่ต่อมาโจทก์ได้เข้าทำงานใหม่แม้จะลาออกจากงานอีกครั้งหนึ่งก็มิใช่ด้วยการคาดหมายว่าจะได้มีการสมรสเพราะในระยะนั้นทั้งสองฝ่ายขัดแย้งกันอย่างรุนแรงจนเป็นที่เห็นได้ว่าไม่อาจจะจดทะเบียนสมรสกันได้แน่นอน โจทก์จึงเรียกไม่ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 5777/2540การที่โจทก์จำเลยได้อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาเเล้ว. โจทก์ต้องเลิกร้างจากจำเลยด้วยเหตุที่จำเลยผิดสัญญาหมั้นนั้น ย่อมเกิดความเสียหายเเก่กายหรือเสียงของโจทก์ซึ่งเป็นหญิงในการที่จะทำการสมรสใหม่ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าทดเเทนจากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายเเพ่งเเละพาณิชย์มาตรา1439เเละมาตรา1440(1)เมื่อคำนึงถึง การที่โจทก์ไม่เคยผ่านการสมรสมาก่อน มีฐานะพอสมควร มีการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวนเงินค่าทดเเทนที่ศาลล่างกำหนดให้250,000บาทนั้น นับว่าเหมาะสมเเก่พฤติการณ์เเล้ว
(2).ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้น บิดามารดา หรือบุคคลผู้กระทำการในฐานะเช่นบิดามารดาได้ใช้จ่ายหรือต้องตกเป็นลูกหนี้เนื่องในการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและตามสมควร
สำหรับกรณีที่ 2 เป็นเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆที่แต่ละฝ่ายไปใช้จ่ายไปเพื่อการจัดเตรียมการสมรส เช่น ค่าใช้จ่ายในการีโนเวทบ้านเพื่อที่จะใช้เป็นเรือนหอ , ค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องอุปโภคในการ หมอน มุ้งเสื่อ หรือเครื่องเรือนสำหรับเรือนหอ แต่การที่จะฟ้องเรียกได้ต้องเป็นการที่แต่ละฝ่ายได้จ่ายไปโยสุจริตและตามสมควร
การฟ้องเรียกเอาค่าทดแทนตาม มาตรา 1440(2) มิใช่เป็นสิทธิเฉพาะตัวของคู่หมั้นแต่อย่างใด บิดามารดา หรือบุคคลผู้กระทำการแทนเช่นบิดามารดา ก็มีสิทธิที่จะฟ้องเรียกร้องเอาค่าทดแทนนี่ที่ตนได้ออกเป็นค่าใช้จ่ายได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 945/2491 ค่าใช้จ่ายที่เสียไปในงานแต่งงาน ไม่ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรส ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1439(2)
คำพิพากษาฎีกาที่ 1515/2506 ในกรณีที่คู่สมรสประสงค์ให้มีการจดทะเบียนสมรสด้วยนั้นหากฝ่ายหญิงไม่ยอมจดทะเบียน ทำให้การสมรสไม่สมบูรณ์ ชายเรียกสินสอดคืนได้ ค่าใช้จ่ายเลี้ยงดูแขกที่จ่ายไปในพิธีแต่งงานที่ไม่มีการหมั้นและไม่สมบูรณ์เพราะไม่จดทะเบียนสมรสนั้นหาอาจเรียกทดแทนจากอีกฝ่ายหนึ่งได้ไม่เพราะไม่เป็นการผิดสัญญาหมั้นและไม่เข้าลักษณะอันเป็นค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1439 (2)
(3).ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้นได้จัดการทรัพย์สินหรือการอื่นอันเกี่ยวแก่อาชีพหรือทางทำมาหาได้ของตนไปโดยสมควรด้วยการคาดหมายว่าจะได้มีการสมรส
ค่าทดแทนนี้เป็นกรณีที่ชายและหญิงคู่หมั้น ได้จัดการหรือทำกิจการไปในทางที่เสียหายโยคาดหมายว่าจะได้มีการสมรสกัน เช่น หญิงลาออจากงานประจำเพื่อที่จะเตรียมสมรสกับชายที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด
คำพิพากษาฎีกาที่ 945/2491 ค่าทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่โจทก์ได้จัดการเกี่ยวกับอาชีพโดยคาดหมายว่าจะได้มีการสมรสนั้น ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าก่อนรับหมั้นจำเลย โจทก์ทำงานอยู่ที่บริษัทแฟร์เท็กซ์การ์เมนท์ จำกัด เมื่อแต่งงานกับจำเลยแล้วประมาณ 1 เดือนเศษ โจทก์ได้ลาออกจากงานเพื่อมาช่วยงานบ้านจำเลย ถือได้ว่าโจทก์ได้จัดการเกี่ยวกับอาชีพโดยสมควรด้วยการคาดหมายว่าจะได้มีการสมรส เมื่อจำเลยไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าทดแทนความเสียหายในส่วนนี้ได้ ส่วนระยะเวลาหลังจากโจทก์ได้เข้าทำงานใหม่แล้วย่อมไม่มีเหตุที่จะกำหนดค่าทดแทนให้อีก แม้โจทก์จะลาออกจากงานอีกครั้งหนึ่งก็มิใช่ด้วยการคาดหมายว่าจะได้มีการสมรส เพราะในระยะนั้นทั้งสองฝ่ายขัดแย้งกันอย่างรุนแรงจนเป็นที่เห็นได้ว่าไม่อาจจะจดทะเบียนสมรสกันได้อย่างแน่นอน จำเลยจะต้องรับผิดใช้ค่าทดแทนให้โจทก์คือค่าทดแทนความเสียหายต่อกายและชื่อเสียงของโจทก์ 200,000 บาท ค่าทดแทนเนื่องจากการเตรียมการสมรส 4,700 บาท และค่าทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่โจทก์จัดการเกี่ยวกับอาชีพโดยคาดหมายว่าจะได้มีการสมรส14,567 บาท
ข้อสังเกต: สิทธิที่จะเรียกร้องเอาค่าทดแทนความเสียหายตามมาตรา 1440(1)และ(3) เป็นสิทธิเฉพาะตัวของชายหรือหญิงนั้น หากชายหรือหญิงตายไป สิทธิในการฟ้องร้องไม่ตกทอดไปยังทายาท
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1440 “ ค่าทดแทนนั้นอาจเรียกได้ ดังต่อไปนี้
(1) ทดแทนความเสียหายต่อกายหรือชื่อเสียงแห่งชายหรือหญิงนั้น
(2) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้น บิดามารดา หรือบุคคลผู้กระทำการในฐานะเช่นบิดามารดาได้ใช้จ่ายหรือต้องตกเป็นลูกหนี้เนื่องในการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและตามสมควร
(3) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้นได้จัดการทรัพย์สินหรือการอื่นอันเกี่ยวแก่อาชีพหรือทางทำมาหาได้ของตนไปโดยสมควรด้วยการคาดหมายว่าจะได้มีการสมรส
ในกรณีที่หญิงเป็นผู้มีสิทธิได้ค่าทดแทน ศาลอาจชี้ขาดว่า ของหมั้นที่ตกเป็นสิทธิแก่หญิงนั้นเป็นค่าทดแทนทั้งหมดหรือเป็นส่วนหนึ่งของค่าทดแทนที่หญิงพึงได้รับ หรือศาลอาจให้ค่าทดแทนโดยไม่คำนึงถึงของหมั้นที่ตกเป็นสิทธิแก่หญิงนั้นก็ได้ “
ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954
หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @closelawyercmi
หรือ คลิก https://lin.ee/Zu2JmNU
www.closelawyer.co.th
#ทนายใกล้ตัว

ทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย คืออะไร
ทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู

ทรัพย์สินของคนตายจะถือว่าความครอบครองอยู่ที่ผู้ใด
ทรัพย์สินของคนตายจะถือว่า

สู้คดีกู้ยืมเงิน แบบใดที่สามารถนำพยานบุคคลเข้าสืบได้
สู้คดีกู้ยืมเงิน แบบใดที่