closelawyer@gmail.com       080-919-3691

ตามกฎหมายแล้วหากเกิดความชำรุดในสินค้าจนส่งผลกระทบต่อการใช้งานผู้ขายต้องรับผิดชอบแต่หากเป็นเพียงการชำรุดบกพร่องเล็กน้อยไม่ส่งผลต่อการใช้งาน ผู้ขายไม่จำต้องรับผิดชอบในของสิ่งนั้น

         โดยปกติแล้วการซื้อขายทรัพย์สินนั้น ผู้ซื้อย่อมคาดหวังว่า สินค้าหรือทรัพย์สินที่ผู้ซื้อได้ทำการซื้อนั้นต้องเป็นสินค้าหรือทรัพย์สินที่สมบูรณ์หรือไม่มีการชำรุดบกพร่อง และที่สำคัญ ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 472  ยังกำหนดอีกว่า “ ในกรณีที่ทรัพย์สินซึ่งขายนั้นชำรุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติก็ดี ประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญาก็ดี ท่านว่าผู้ขายต้องรับผิด

ความที่กล่าวมาในมาตรานี้ย่อมใช้ได้ ทั้งที่ผู้ขายรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าความชำรุดบกพร่องมีอยู่ ”

        ซึ่งเห็นได้ชัดว่าประเด็นเรื่องการชำรุดบกพร่องนั้นถือเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ขายต้องพึงให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ แต่ถึงแม้ว่าการชำรุดบกพร่องของทรัพย์สินซึ่งได้ทำการซื้อขายจะถือเป็นเรื่องสำคัญ แต่หากการชำรุดบกพร่องนั้นเป็นการชำรุดเพียงเล็กน้อย เช่น กรณีที่ได้มีการสั่งซื้อสินค้าเป็นจำนวนมาก แล้วมีการปะปนของสิ่งอื่นใดเพียงเล็กน้อยเป็นต้น กรณีเช่นนี้ขึ้นอยู่กับข้อเท็จของแต่ละประเด็น หากมองว่าเป็นการชำรุดเล็กน้อย กรณีเช่นนี้ผู้จะขายไม่จำต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องตามมาตรา 472 ก็ได้ โดยในประเด็นเรื่องของการชำรุดบกพร่องเล็กน้อยนั้น จะขอยกตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่เคยตัดสินให้ผู้ขายไม่จำต้องรับผิดในการชำรุดบกพร่องเพียงเล็กน้อย

        อ้างถึงคำพิพากษาฎีกาที่ 6976/2542      โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระราคาค่าปลาป่นที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์จำเลยให้การต่อสู้ว่าปลาป่นที่โจทก์ส่งมอบให้แก่จำเลยมีสิ่งอื่นเจือปน ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายมากกว่าจำนวนที่โจทก์เรียกร้อง ขอให้ยกฟ้อง เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าหลังจากจำเลยได้รับปลาป่นที่มีขนไก่ปลอมปนแล้วจำเลยยังสั่งซื้อปลาป่นจากโจทก์ต่อไปอีก30คันรถบรรทุกแสดงว่าแม้ปลาป่นของโจทก์จะมีขนไก่ปลอมปนอยู่บ้างก็น่าจะเพียงเล็กน้อย ไม่ถึงกับทำให้ไก่ของจำเลยเจริญเติบโตช้ากว่าปกติการที่ปลาป่นมีขนไก่ปลอมปนอยู่จึงไม่ถึงกับถือได้ว่าเป็นกรณีทรัพย์สินที่ขายชำรุดบกพร่องอันเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติในอันที่โจทก์ผู้ขายจะต้องรับผิดต่อจำเลยผู้ซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 472 จำเลยจึงไม่มีสิทธิจะยึดหน่วงราคาที่ยังไม่ได้ชำระให้แก่โจทก์ได้ตามมาตรา 488 จำเลยฎีกาว่า สมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทยได้ไกล่เกลี่ยให้จนโจทก์และจำเลยตกลงกันว่าจำเลยจะชำระเงินให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่งของจำนวนเงินที่ค้างชำระแสดงว่าได้มีการตกลงระงับข้อพิพาทแล้ว อันทำให้ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินเต็มจำนวนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 นั้น เมื่อจำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

ปรึกษากฎหมายโทร📞 080-9193691,☎️ 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 ไลน์ @closelawyercmi

ตามกฎหมายแล้วหากเกิดความชำรุดในสินค้าจนส่งผลกระทบต่อการใช้งานผู้ขายต้องรับผิดชอบแต่หากเป็นเพียงการชำรุดบกพร่องเล็กน้อยไม่ส่งผลต่อการใช้งาน ผู้ขายไม่จำต้องรับผิดชอบในของสิ่งนั้น
Scroll to top
error: Content is protected !!