closelawyer@gmail.com       080-919-3691

คนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดได้หรือไม่ ?
โดยปกติแล้ว การถือครองอสังหาริมทรัพย์ซึ่งรวมถึงกรรมสิทธิ์ห้องชุดในอาคารชุดด้วยนั้น จะจำกัดเฉพาะผู้ที่มีสัญชาติไทย คนต่างด้าวจะไม่ได้รับอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ หากได้รับ อสังหาริมทรัพย์มาก็ต้องมีการจำหน่ายจ่ายโอนออกไป ซึ่งก็เป็นเหตุผลเกี่ยวกับประโยชน์และความ มั่นคงปลอดภัยของประเทศชาติ อย่างไรก็ดี สังคมโลกได้เปลี่ยนแปลงไป มีการเชื่อมโยงติดต่อกัน มากขึ้นมีการพึ่งพาอาศัยเงินทุน เทคโนโลยีต่าง ๆ แต่การติดต่อกันทางธุรกิจ แนวคิดเกี่ยวกับการ จำกัดสิทธิก็เปลี่ยนแปลงไป ในกรณีของกฎหมายอาคารชุดเองได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงโดย พระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔ เปิดทางให้คนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดได้ โดยเหตุผลของการแก้ไขได้มีการระบุไว้ในหมายเหตุท้ายพระราชบัญญัติว่า โดยที่เป็นการสมควรให้ คนต่างด้าวหรือนิติบุคคลที่มีสิทธิในที่ดินเสมือนคนต่างด้าวบางประเภท อาจได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ใน ห้องชุดได้ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการลงทุนอันจะก่อให้เกิดความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ ของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ต่อมาก็มีการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องคนต่างด้าวอีก โดยพระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับ ที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๒ และฉบับที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยในการแก้ไขฉบับที่ ๓ นั้น เหตุผลของการแก้ไขปรากฏตามหมายเหตุท้ายกฎหมายว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การได้มา กรรมสิทธิ์ในห้องชุดของคนต่างด้าวและนิติบุคคลที่กฎหมายถือว่าเป็นคนต่างด้าว เพื่อให้สอดคล้อง กับบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินที่เปลี่ยนแปลงข้อจำกัดเกี่ยวกับการ นำเงินตราต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักร โดยกำหนดให้ผู้นำเงินตราต่างประเทศเข้ามาใน ราชอาณาจักรต้องขายหรือฝากเงินตราต่างประเทศนั้นแก่ธนาคารที่ได้รับอนุญาตและแก้ไข อัตราส่วนการถือกรรมสิทธิ์ห้องชุดในแต่ละอาคารชุดของคนต่างด้าวและนิติบุคคลที่กฎหมายถือว่า เป็นคนต่างด้าวให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกในการซื้อห้องชุดของบุคคลดังกล่าว ตลอดจนเป็นการเพิ่มกำลังซื้อให้กับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของประเทศที่กำลังประสบปัญหาสภาวะ ซบเซาซึ่งเป็นมาตรการหนึ่งในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม นอกจากนั้นได้เพิ่มเติม บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจในการตรา กฎหมายที่มีบทบัญญัติเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพ ของประชาชน เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา ๓๓๕ (๑) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึง จำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
สำหรับรายละเอียดต่าง ๆ ของบทบัญญัติเกี่ยวกับการถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดนั้น อาจแยก พิจารณาได้ ดังนี้
เกี่ยวกับประเภทของคนต่างด้าว
คนต่างด้าวที่อาจถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดใต้นั้น กฎหมายบัญญัติไว้ทั้งกรณีของบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล โดยมาตรา ๑๙ บัญญัติเกี่ยวกับประเภทของบุคคลต่างด้าวไว้ ดังต่อไปนี้
(๑) คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
(๒) คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักร ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
(๓) นิติบุคคลตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๙๗ และมาตรา ๙๘ แห่งประมวลกฎหมาย ที่ดินซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย
(๔) นิติบุคคลซึ่งเป็นคนต่างด้าวตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๘๑ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ และได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการ ลงทุน
(๕) คนต่างด้าวหรือนิติบุคคลที่กฎหมายถือว่าเป็นคนต่างด้าวซึ่งนำเงินตราต่าง ประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรหรือถอนเงินจากบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ หรือถอนเงินจากบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ
ตามบทบัญญัติของมาตรา ๑๙ ดังกล่าว จะเห็นได้ว่า มีการแบ่งประเภทของคนต่างด้าวที่ อาจถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดไว้หลายประเภทตามที่มาของกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954
หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @closelawyercmi
หรือ คลิก https://lin.ee/Zu2JmNU
คนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดได้หรือไม่
Scroll to top
error: Content is protected !!