บุตรฟ้องพ่อแม่ในฐานะผู้จัดการมรดกได้ ไม่เป็นคดีอุทลุม!
หลายท่านคงเคยได้ยินเรื่องที่ห้ามลูกฟ้องพ่อแม่ ซึ่งตามมาตรา 1562 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็ได้มีบัญญัติเอาไว้เช่นนั้น โดยจะเรียกการฟ้องคดีประเภทนี้ว่าเป็น “คดีอุทลุม”
คดีอุทลุม เป็นการที่กฎหมายห้ามไม่ให้ผู้สืบสันดานฟ้องบุพการีของตน และห้ามพาะผู้สืบสันดานที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามกฎหมายไม่ได้ห้ามบุพการีฟ้องผู้สืบสันดาน
คำพิพากษาฎีกา 4744/2539 การห้ามฟ้องบุพการีเป็นบทบัญญัติที่จำกัดสิทธิจำต้องตีความโดยเคร่งครัดว่า กรณีของผู้สืบสันดานชั้นบุตรหมายถึงบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นที่ต้องห้ามมิให้ฟ้องบุพการีของตน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1562
คำพิพากษาฎีกา 294/2538 บทบัญญัติในมาตรา1562ที่บัญญัติว่าผู้ใดจะฟังบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญามิได้นั้นเป็นบทบัญญัติจำกัดสิทธิของบุคคลจึงต้องตีความโดยเคร่งครัด ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา29เดิม(มาตรา28ที่แก้ไขใหม่)ให้ความหมายของคำว่าผู้บุพการีไว้ว่าหมายถึงบิดามารดาปู่ย่าตายายทวดและผู้สืบสายโลหิตกันโดยตรงขึ้นไปตามความเป็นจริงจำเลยเป็นเพียงผู้รับโจกท์เป็นบุตรบุญธรรมไม่ใช่บิดาโจทก์จึงไม่ใช่ผู้บุพการีของโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1562
** แต่ในกรณีที่บุตรฟ้องบุพการีของตนในฐานะผู้จัดการมรดกมิใช่เป็นการฟ้องในฐานะส่วนตัว เช่นนี้สามารถฟ้องได้ ไม่ถือว่าเป็นคดีอุทลุม เพราะถือว่าเป็นการฟ้องผู้จัดการมรดกที่ไม่จัดการตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดไว้ เป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้สืบสันดานแต่ละคนที่ฟ้องให้บุพการีรับผิดในฐานะผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาฎีกา 294/2538 โจทก์ยื่นฟ้องในคดีนี้ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ย. ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ย. กลับคืนเข้าสู่กองมรดกจึงเป็นกรณีการฟ้องของโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป หาใช่โจทก์ฟ้องในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะเป็นบุตรของจำเลยที่ 3 ไม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นคดีอุทลุมอันจะต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1562 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกเพื่อติดตามเอาที่ดินพิพาททั้งสองแปลงกลับคืนเข้าสู่กองมรดกอันเป็นสิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดกเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปจึงเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริต
การฟ้องคดีของโจทก์เป็นการขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่จำเลยที่ 3 ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยให้โอนกลับคืนมาเป็นชื่อของจำเลยที่ 3 และให้จำเลยทั้งสามส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาททั้งสองแปลงดำเนินการโอนใส่ชื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ย. เพื่อแบ่งปันแก่ทายาทตามกฎหมาย มิใช่เป็นการฟ้องขอแบ่งมรดกของเจ้ามรดกจากจำเลยทั้งสาม กรณีดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติเรื่องอายุความในการติดตามเอาคืนทรัพย์สิน จะนำอายุความมรดกมาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาฎีกา 5374/2552 คำร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรของผู้ตายเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแทนระบุว่าผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลชั้นต้นไม่จัดการโอนทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทและแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทอื่นตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกทำให้ทายาทอื่นที่จะได้รับส่วนแบ่งในกองมรดกได้รับความเสียหายโดยผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านเป็นทำนองปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง ดังนั้น เนื้อหาตามคำร้องขอของผู้คัดค้านที่ 2 จึงแสดงรายละเอียดชัดเจนแล้วว่า ผู้ร้องละเลยไม่ทำการตามหน้าที่และผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียได้มายื่นคำร้องขอต่อศาลก่อนที่การปันมรดกเสร็จสิ้นลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 ในกรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นจำต้องไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้านที่ 2 เพื่อฟังพยานหลักฐานจากผู้คัดค้านที่ 2 และผู้ร้องให้ครบถ้วนกระบวนความเสียก่อนว่า ผู้ร้องละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ตามคำร้องขอหรือมีเหตุอย่างอื่นที่สมควรที่ศาลจะสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. ดังกล่าวหรือไม่ รวามทั้งผู้ร้องได้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายบังคับไว้ตามบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1728 ถึง 1733 ซึ่งถือเป็นสาเหตุอย่างอื่นที่ศาลอาจเห็นว่าเป็นเหตุสมควรที่จะสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกเสียก็ได้หรือไม่ โดยมิพักต้องคำนึงถึงว่าผู้คัดค้านที่ 2 มีเนื้อหาและประเด็นอย่างเดียวกันกับคำร้องขอของผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเคยยื่นคำร้องขอแล้วได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับผู้ร้องและศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมจนคดีถึงที่สุดไปแล้วหรือไม่ เพราะในกรณีเช่นนี้ผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งก็มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกก่อนการปันมรดกเสร็จสิ้นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 เป็นการเฉพาะตัวของผู้มีส่วนได้เสียแต่ละคน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้านที่ 2 จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
ระวัง !! แต่หากมีการจัดการมรดกเสร็จสิ้นแล้วไม่ถือว่าเป็นการฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกแต่ถือเป็นการฟ้องในฐานะส่วนตัว จึงเป็นคดีอุทลุม
คำพิพากษาฎีกา 5374/2552 ตามพินัยกรรมของ ส. ระบุว่าทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมมีที่ดินสามแปลงและระบุให้โจทก์เป็นผู้จัดการมรดตามพินัยกรรม โดยมิได้กล่าวถึงทรัพย์สินอื่นใดของผู้ตายนอกพินัยกรรม เมื่อที่ดินตามพินัยกรรมสองแปลง ว. น้องโจทก์ยื่นฟ้องโจทก์ในฐานะส่วนตัวว่าที่ดินจำนวนสองแปลงมิใช่ทรัพย์มรดกของ ส. เพราะที่ดินทั้งสองแปลง ส. และจำเลย ซึ่งเป็นภริยาของ ส. และเป็นมารดาโจทก์ได้ยกให้ ว. แล้ว และศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ภาค 6 ฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินทั้งสองแปลง ส. และจำเลยยกให้ ว. แล้ว มิใช่ทรัพย์มรดกของ ส. ห้ามโจทก์นำพินัยกรรมไปจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินทั้งสองแปลง ส่วนที่ดินอีกหนึ่งแปลงพิพาทกัน เจ้าพนักงานที่ดินได้ดำเนินการจดทะเบียนลงในสารบาญหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับมรดกที่ดินเฉพาะส่วนของ ส. แล้ว การจัดการมรดกย่อมเป็นอันเสร็จสิ้นลงแล้ว มิใช่อยู่ระหว่างจัดการตาม ป.พ.พ. มาตรา 1736 การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยซึ่งเป็นมารดาและเป็นเจ้าของรวมแบ่งแยกที่ดินแปลงพิพาทหลังจากโจทก์รับโอนที่ดินมรดกเฉพาะส่วนแล้ว ย่อมเป็นการฟ้องในฐานะส่วนตัวหาใช่ในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกไม่ จึงเป็นคดีอุทลุม ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1562 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ข้อสังเกต : บุพการีหมายถึง บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย และทวด ส่วนผู้สืบสันดาน คือ ลูก หลาน เหลย ลื่อ เท่านั้น ดังนี้หากหลานจะฟ้องป้าได้เพราะป้าไม่ใช่บุพการี
ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954
หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @closelawyercmi
หรือ คลิก https://lin.ee/Zu2JmNU
บุตรฟ้องพ่อแม่ในฐานะผู้จัดการมรดกได้ ไม่เป็นคดีอุทลุม