closelawyer@gmail.com       080-919-3691

การที่ประชาชนอย่างเรา ๆ ได้ก่อสร้างอาคาร บ้านเรือนไม่ว่าจะเพื่ออยู่อาศัยหรือเพื่อการพาณิชย์ และได้ขออนุญาตต่อเจ้าหน้าที่ ที่มีความเกี่ยวข้องแล้ว ต่อมาเมื่อได้ทำการก่อสร้างให้แล้วเสร็จเกิดเปลี่ยนใจ อยากต่อเติมแก้ไขเพิ่มเติมตัวอาคาร แต่มิได้ทำทเรื่องแจ้งไปยังเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องหากมีการตรวจสอบพบว่าได้มีการก่อสร้างดัดแปลงผิดแบบ ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย หากสามารถสั่งให้แก้ไขได้ก็เพียงแก้ไข แต่หากจำเป็นต้องรื้อ เจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิสั่งให้รื้อถอนการต่อเติมที่ผิดระเบียบนั้นได้ เป็นทางทำให้เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเข้ามา

แต่มีข้อสังเกตว่าคำสั่งให้แก้ไขหรือรื้อถอนนั้น ต้องเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยการกระทำของเจ้าหน้าที่ หากเจ้าหน้าที่ ที่ไม่ได้มีอำนาจกระทำการสั่งการได้ ย่อมไม่ผูกพันต่อประชาชนทั่วไป เมื่อไม่ผูกพันประชาชนก็ไม่จำเป็นต้องสนใจคำสั่งดังกล่าว ไม่ถือเป็นการละเมิดอำนาจเจ้าหน้าที่

อ้างถึงคำพิพากษาฎีกาที่ 1809/2554 ความผิดข้อหาก่อสร้างดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเกิดขึ้นนับแต่วันทำการก่อสร้างอาคารต่อเนื่องกันไปจนถึงวันปลูกสร้างอาคารเสร็จ อายุความฟ้องร้องต้องนับถัดจากวันที่ก่อสร้างดัดแปลงเสร็จลง มิใช่เป็นความผิดต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาที่ผู้กระทำยังไม่ได้รื้ออาคาร ส่วนเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนหรือร้องขอต่อศาลให้บังคับให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารรื้อถอนได้เสมอตราบเท่าที่อาคารที่ฝ่าฝืนยังคงอยู่ เป็นเรื่องความรับผิดในทางแพ่ง

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดข้อหาก่อสร้างดัดแปลงอาคารเพื่อใช้เป็นอาคารพาณิชยกรรมขายอาหารตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 21 ต้องระวางโทษตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง จำคุกไม่เกินสามเดือนหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และถือเป็นการกระทำอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรมตามมาตรา 70 ต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น จึงระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี อายุความฟ้องร้องมีกำหนด 5 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 (4) เมื่อการก่อสร้างดัดแปลงอาคารได้เสร็จลงก่อนวันที่ 30 กรกฎาคม 2540 โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 5 พฤศจิกายน 2545 จึงเกินกว่า 5 ปี ล่วงเลยกำหนดเวลาฟ้องร้อง ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ

การกระทำความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 66 ทวิ ต้องเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42 ก่อนกล่าวคือกรณีแรกอาคารที่จำเลยก่อสร้างนั้นสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 41 กรณีที่สองอาคารที่จำเลยก่อสร้างไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นออกคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนแล้วจำเลยไม่ปฏิบัติตาม ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงเกิดขึ้น ข้อเท็จจริงที่ว่าอาคารก่อสร้างดัดแปลงโดยผิดกฎหมายสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้หรือไม่ จึงเป็นสาระสำคัญที่ต้องบรรยายมาในฟ้อง เพราะเป็นเงื่อนไขที่กฎหมายบัญญัติไว้ หาใช่เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาไม่ เมื่อโจทก์มิได้บรรยายในฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

ปรึกษากฎหมายโทร📞 080-9193691,☎️ 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 ไลน์ @closelawyercmi

การต่อเติมก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคาร ต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานเสียก่อน มิเช่นนั้นอาจจะถูกสั่งรื้อเพิกถอนหรือแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมายได้ เป็นทางเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม
Scroll to top
error: Content is protected !!