closelawyer@gmail.com       080-919-3691

ตัดต้นไม้โดยเข้าใจว่าทรัพย์เป็นของตนเอง ไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามกฎหมายอาญา

ตัดต้นไม้โดยเข้าใจว่าทรัพย์เป็นของตนเอง ไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามกฎหมายอาญา

        การตัดต้นไม้ที่เป็นต้นไม้เศรษฐกิจที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงหรือมีที่ดินติดกันโดยไม่มีรั้วรอบขอบชิดนั้น มักเกิดประเด็นพิพาทขึ้นอยู่บ่อยครั้งว่า ต้นไม้ที่ตัดนั้นเป็นของใคร หรือได้มีการปลูกรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของเราหรือเข้าใจว่าเป็นของเรา และตัวเราได้ทำการตัดต้นไม้นั้นเสีย ไม่ว่าเป็นเพราะเหตุที่ต้องการจะขายไม้ของต้นไม้ดังกล่าว หรือตัดต้นไม้เพื่อให้ที่ดินนั้นไม่รกจนเกินไป หากมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งแสดงความเป็นเจ้าของในตัวทรัพย์ ซึ่งก็คือต้นไม้ที่เราได้ทำการตัดไปนั้น กรณีนี้จะถือว่า เราในฐานะที่เป็นเจ้าของที่ดินที่ได้ทำการตัดต้นไม้ ซึ่งได้มาปลูกในที่ดินของเรานั้น ตัวเราย่อมไม่มีความผิดฐาน “ ทำให้เสียทรัพย์ ”

        ตามมาตรา 358 ที่ได้กล่าวถึงนั้น แม้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ( “ผู้ใด” ) ได้ทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ แต่ทั้งนี้ หากพฤติการณ์ดังกล่าวคือมีการปลูกต้นไม้ในที่ดินของตน โดยหลักการของส่วนควบแล้ว ต้นไม้ย่อมเป็นส่วนควบของที่ดิน จึงทำให้ต้นไม้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินด้วย นั้นก็ทำให้บุคคลที่เป็นเจ้าของที่ดิน สามารถเข้าใจได้โดยสุจริตได้ว่า ต้นไม้ดังกล่าว เป็นของตนโดยหลักส่วนควบ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว เจ้าของที่ดินที่ได้ทำการตัดต้นไม้ของบุคคลอื่นที่ได้เข้ามาปลูกลงบนที่ดินของตน “ จึงไม่มีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ”

        คำพิพากษาฎีกาที่ 9973/2553   ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์นั้น แม้โจทก์ที่ 1 จะอ้างว่าต้นยูคาลิปตัสที่จำเลยที่ 1 ใช้ให้ชาวบ้านเข้าไปตัดฟันนั้น โจทก์ที่ 1 เป็นผู้ปลูกก็ตาม  แต่ต้นยูคาลิปตัสเป็นไม้ยืนต้นจึงเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง และตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่พิพาท  ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์ประธานตาม ป.พ.พ.มาตรา 144 วรรคสอง เมื่อโจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 ยังโต้เถียงกรรมสิทธิ์ครอบครองในที่ดินพิพาทกันอยู่เท่ากับว่าโจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 ยังโต้เถียงกรรมสิทธิ์ของต้นยูคาลิปตัสซึ่งปลูกอยู่ในที่พิพาท การที่จำเลยที่ 1 ใช้ให้ชาวบ้านเข้าไปตัดฟันต้นยูคาลิปตัส พฤติการณ์จึงมีเหตุอันสมควรให้จำเลยที่ 1 เข้าใจโดยสุจริตว่าต้นยูคาลิปตัสดังกล่าวเป็นของจำเลยที่ 1 เช่นกัน  การกระทำของจำเลยที่  1  จึงไม่มีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ (ม.358)

        ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358  ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ปรึกษากฎหมายโทร📞 080-9193691,☎️ 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 ไลน์ @closelawyercmi

ตัดต้นไม้โดยเข้าใจว่าทรัพย์เป็นของตนเอง ไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามกฎหมายอาญา
Scroll to top
error: Content is protected !!