closelawyer@gmail.com       080-919-3691

สัญญาจ้างหรือหนังสือเลิกจ้างมีระบุข้อความไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหาย แม้ลูกจ้างลงชื่อยินยอม ก็อาจนำมาใช้ฟ้องคดีได้

ในกรณีลูกจ้างลงชื่อในหนังสือเลิกจ้าง โดยตกลงสละสิทธิเรียกร้องในตัวเงินต่างๆ เช่น ค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ฯลฯ ซึ่งเป็นสิทธิตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานนั้น ไม่สามารถใช้บังคับได้ เนื่องจากกฎหมายแรงงานเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน บรรดาข้อตกลงดังกล่าวที่ส่งผลให้ลูกจ้างเสียสิทธิตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นข้อตกลงที่ระบุไว้เพิ่มเติมในหนังสือเลิกจ้าง หรือใบลาออก หรือแม้แต่ระบุไว้ล่วงหน้าตั้งแต่แรกในสัญญาจ้าง ก็ย่อมไม่สามารถใช้บังคับได้ และมีผลเป็นโมฆะ

อย่างไรก็ดี หากเงินที่ตกลงสละสิทธิเรียกร้อง เป็นเงินอื่นนอกเหนือจากที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานระบุไว้ เช่น ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม, สวัสดิการพิเศษ, เงินโบนัส ฯลฯ ข้อความสละสิทธิเรียกร้องดังกล่าวสามารถใช้บังคับได้

อ้างอิง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2499/2537
แม้สัญญาจ้างมีข้อความให้สิทธิผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาได้โดยผู้รับจ้างไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายหรือค่าตอบแทนแต่ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นข้อสัญญาที่ผิดแผกแตกต่างไปจากประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ที่กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างซึ่งเป็นบทบัญญัติที่มีวัตถุประสงค์ในอันที่จะก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ลูกจ้าง อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่อาจใช้บังคับแก่การจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1402/2559
สัญญาประนีประนอมยอมความที่จะระงับข้อพิพาทแรงงานตามกฎหมายนั้น ต้องเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่เป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน หากเป็นการตกลงเรื่องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 หรือค่าเสียหายอื่นใดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นายจ้างและลูกจ้างย่อมตกลงระงับข้อพิพาทกันได้ ดังนั้น การที่โจทก์ทำบันทึกข้อตกลงไว้ในหนังสือเลิกจ้างลงวันที่ 27 สิงหาคม 2553 ว่า ไม่ติดใจเรียกเงินอื่นใดจากจำเลยที่ 2 อีกต่อไป เงินค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และเงินอื่นที่โจทก์เรียกร้องมานั้น เป็นเงินที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากการเลิกจ้าง เป็นเงินอื่นนอกเหนือจากเงินตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 โจทก์ย่อมตกลงระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นและมีอยู่ตามข้อตกลงที่บันทึกไว้ในหนังสือเลิกจ้างได้ โดยให้ถือตามข้อความที่ตกลงกันไว้ในเอกสารฉบับดังกล่าว โจทก์ย่อมสละเงินดังกล่าวได้การที่โจทก์ทำบันทึกสละสิทธิในการเรียกร้อง เงินดังกล่าว ย่อมมีผลผูกพันโจทก์

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954
หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @cly.cmi
หรือ คลิก https://lin.ee/hCbTQl6
สาขาขอนแก่น โทร 095-9567735 แอดไลน์ @cly.kkn
หรือ คลิก https://lin.ee/U10ElNk
www.closelawyer.co.th
#ทนายใกล้ตัว

สัญญาจ้างหรือหนังสือเลิกจ้างมีระบุข้อความไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหาย แม้ลูกจ้างลงชื่อยินยอม ก็อาจนำมาใช้ฟ้องคดีได้
Scroll to top
error: Content is protected !!