closelawyer@gmail.com       080-919-3691

แม้ปิดล็อคประตูชั้นที่ตนเองครอบครองอยู่ แต่เป็นเหตุให้คนอื่นที่อยู่ชั้นบนไม่สามารถเข้า-ออกได้ ถือว่ามีความผิด ข้อหาบุกรุก
 
ความผิด ข้อหาบุกรุก  ตามมาตรา 362 แยกได้เป็น 2 กรณี คือ
กรณีที่ 1 เข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น เพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน
กรณีที่ 2 เข้าไปกระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปกติสุข
 

 
         กรณีที่ 2 นั้น เป็นการเข้าปกระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปกติสุข หมายความว่า จะกระทำอย่างไรก็ได้ทั้งนั้น ถ้าเกิดผลเป็นการรบกวนแล้วก็เข้าองค์ประกอบความผิด เช่น ใส่กุญแจห้องไม่ให้ผู้เช่าเข้าห้องได้, งัดกุญแจห้องเข้าไปเปิดทำการค้าในอาหารที่เจ้าพนักงานให้ผู้อื่นครอบครองรักษา, ขนเครื่องเหล็กและพลาสติกไปวางไว้ทั้งชั้นบนและชั้นล่างในห้องที่ผู้อื่นเช่าอาศัยอยู่ เหล่านี้ถือว่าเป็นการกระทำอันเป็นการรบกวนการครอบครอง
 
         ซึ่งตัวอย่างตามฎีกาเป็นการปิดล็อคประตูชั้นที่ตนเองครอบครองอยู่ แต่เป็นเหตุให้คนอื่นที่อยู่ชั้นบนไม่สามารถเข้า-ออกได้ เพราะมีทางเข้าออกทางเดียว การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการล่วงล้ำเข้าไปในอำนาจการครอบครองของผู้อื่น ถือได้ว่าเป็นการเข้าไปกระทำการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยปกติสุข มีความผิดข้อหาบุกรุก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362
 
         คำพิพากษาฎีกาที่ 3633/2562
         โจทก์เป็นผู้ครอบครองอาคารพิพาทชั้น 3 และชั้น 4 ซึ่งจำเลยให้โจทก์ใช้สอยอาคารดังกล่าวเป็นที่เก็บสินค้าและสถานประกอบการ เพื่อเป็นการตอบแทนที่โจทก์ให้จำเลยยืมเงินทดรองจ่ายไปชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองจากธนาคาร ต่อมาจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากอาคารพิพาท โจทก์มอบหมายให้ทนายความมีหนังสือแจ้งจำเลยว่า โจทก์ยังมีสิทธิอาศัยอยู่ในอาคารพิพาทจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เงินทดรองจ่ายค่าไถ่ถอนจํานอง
 
        หลังจากนั้นจำเลยปิดล็อคประตูชั้น 2 ของอาคารพิพาทซึ่งเป็นทางเชื่อมไปสู่อาคารพิพาทชั้น 3 และชั้น 4 และมีเพียงประตูชั้น 2 ที่โจทก์และพนักงานของโจทก์ใช้ผ่านไปสู่ชั้น 3 และชั้น 4 ของอาคารพิพาทได้ ทำให้โจทก์และพนักงานของโจทก์ไม่สามารถเข้าไปยังชั้น 3 และชั้น 4 ของอาคารพิพาทได้
 
        ศาลฎีกาเห็นว่า แม้ประตูชั้น 2 จะอยู่ในความครอบครองของจำเลยหรือไม่ก็ตาม จำเลยก็ #ไม่มีอำนาจโดยพลการจะปิดล็อคประตูชั้น 2 ซึ่งเป็นทางเข้าออกทางเดียว ทำให้โจทก์และพนักงานของโจทก์ไม่สามารถเข้าไปยังชั้น 3 และชั้น 4 ของอาคารพิพาทได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการล่วงล้ำเข้าไปในอำนาจการครอบครองของโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยเข้าไปกระทำการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์โดยปกติสุขตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362
 
        มาตรา 362 ผู้ใดเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น เพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือเข้าไปกระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปกติสุข ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 
ปรึกษากฎหมายโทร📞 080-9193691 ,☎️ 02-0749954
หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @closelawyercmi
หรือ คลิก https://lin.ee/Zu2JmNU
💻www.closelawyer.co.th💻
แม้ปิดล็อคประตูชั้นที่ตนเองครอบครองอยู่ แต่เป็นเหตุให้คนอื่นที่อยู่ชั้นบนไม่สามารถเข้า-ออกได้ ถือว่ามีความผิดข้อหาบุกรุก
Scroll to top
error: Content is protected !!