หาก ผิดสัญญา จะซื้อจะขายเงินดาวที่ได้จ่ายไปไม่ถือเป็นเงินมัดจำริบไม่ได้และหากมีค่าปรับจากเหตุที่ผิดสัญญาย่อมเป็นการเรียกซ้ำซ้อนจากเงินมัดจำไม่อาจเรียกได้แม้จะกำหนดไว้ตามสัญญาก็ตาม
หากท่านไม่ทราบว่าค่ามัดจำคืออะไร เป็นแบบไหนอาจจะเสียรู้ให้กับอีกฝ่ายหนึ่งได้ ค่ามัดจำนั้นไม่ว่าจะให้เป็นเงินสด หรือสิ่งของ ย่อมสามารถมัดจำไว้ได้ทั้งนั้น โดยต้องส่งมอบในวันทำสัญญา หรือกำหนดไว้โดยเฉพาะว่าเป็นเงินมัดจำในการทำสัญญาดังกล่าว หากท่านไม่ทำการทักท้วงหลังจากโดนคักเงินอันมิใช่มัดจำแล้วอาจจะสูญเงินเปล่า
ตัวอย่าง ในการทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านหลังหนึ่งพร้อมที่ดิน โดยได้กำหนดในสัญญาว่าต้องวางมัดจำต่อกันเป็นจำนวนเงิน 1% ของยอดที่จะซื้อจะขายกันทรัพย์สินดังกล่าว เป็นเงิน 2,000,000 ดังนั้นเงินมัดจำที่ผู้จะซื้อจักต้องวางในวันทำสัญญาคือ 20,000 บาทเท่านั้น แต่ทางผู้จะขายย่อมกำหนดเงินดาวบ้านและที่ดินลงไว้ด้วยคือ 10% เป็นเงิน 200,000 บาท โดยให้ผู้จะซื้อทำการผ่อนชำระเป็นงวดๆ ในระหว่างนั้นก็ทำการก่อสร้างไปเรื่อยๆ พร้อมกับผ่อนชำระเงินดาว โดยกำหนดส่งมอบบ้านและที่ดินภายในอีก 2 ปี ปรากฏว่าผู้จะซื้อไม่ได้สนใจที่จะซื้อบ้านหลังดังกล่าวอีกต่อไป จึงทำการบอกเลิกสัญญาและขอเงินค่าดาวน์บ้านคืน
ดังนั้นผู้จะขายทำได้เพียงแค่รีบเงินมัดจำในจำนวนเงิน 20,000 บาทที่ได้ให้ไปก่อนหน้านั้น ส่วนเงินดาวน์ที่ผู้จะซื้อได้ชำระไปแล้วต้องคืนให้แก่ผู้จะซื้อ ไม่อาจริบได้เนื่องจากไม่ใช่เงินมัดจำตามกฎหมาย
อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9514/2544 แม้โจทก์จะได้วางเงินจำนวน 55,000 บาท ในวันทำสัญญาจะซื้อจะขายอาคารพร้อมที่ดินก็ตาม แต่เงินจำนวนดังกล่าวนี้ก็มิได้หมายความว่าจะเป็นเงินมัดจำไปเสียทั้งหมด ต้องขึ้นอยู่กับเจตนาของคู่กรณีเป็นสำคัญ เมื่อเจตนาของโจทก์และจำเลยปรากฏชัดแจ้งอยู่ในสัญญาแล้วว่าให้ถือเป็นเงินดาวน์ จึงต้องถือว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่ดินพร้อมทาวน์เฮ้าส์ ส่วนเงินดาวน์ที่โจทก์ผ่อนชำระไปแล้วอีก 10 งวดจำนวน 87,000 บาท นั้น ยิ่งเห็นได้ชัดว่าไม่ใช่เงินมัดจำ เพราะเป็นเงินที่ผ่อนชำระกันหลังจากทำสัญญาจะซื้อจะขายอาคารพร้อมที่ดินแล้ว ดังนั้น เมื่อโจทก์ผิดสัญญาจำเลยจะริบเงินเหล่านี้โดยอ้างว่าเป็นเงินมัดจำที่อาจริบตามกฎหมายไม่ได้
สัญญาจะซื้อจะขายข้อ 9 ระบุว่าหากโจทก์ซึ่งเป็นผู้จะซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินตามที่ระบุในสัญญา ให้ถือว่าโจทก์ ผิดสัญญา และยินยอมให้จำเลยริบเงินที่ชำระไว้แล้วทั้งหมด กับให้ถือว่าสัญญานี้เป็นอันยกเลิกกันทันทีโดยมิต้องบอกกล่าว ดังนั้น เมื่อโจทก์ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ผลคือสัญญาเลิกกัน เงินที่โจทก์ส่งมอบแก่จำเลยดังกล่าวเพื่อชำระหนี้บางส่วนย่อมกลับเป็นเงินอันจะต้องใช้คืนเพื่อให้คู่สัญญากลับสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 แม้เมื่อโจทก์จำเลยตกลงกันให้ริบโดยไม่ต้องใช้คืนเพื่อกลับสู่ฐานะเดิมข้อตกลงให้ริบดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นจำนวนเงินตามมาตรา 379 และเบี้ยปรับนี้ถ้าสูงเกินส่วน ศาลก็มีอำนาจที่จะลดลงให้เหลือเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ ส่วนที่ตกลงกันไว้ในตอนท้ายของสัญญาข้อ 9 อีกว่า หากโจทก์ผู้จะซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินตามสัญญาอีกยอมชำระค่าปรับให้แก่จำเลยผู้จะขายต่างหากเป็นเงินครั้งละ 10,000บาท ก็เป็นเบี้ยปรับเช่นกัน แต่ที่กำหนดไว้ในสัญญาให้เรียกได้อีกนั้นเป็นการซ้ำซ้อน จึงไม่กำหนดเบี้ยปรับให้แก่จำเลยอีก
มาตรา 377 “เมื่อเข้าทำสัญญา ถ้าได้ให้สิ่งใดไว้เป็นมัดจำท่านให้ ถือว่าการที่ให้มัดจำนั้นย่อมเป็นพยานหลักฐานว่าสัญญานั้นได้ทำกันขึ้นแล้ว อนึ่ง มัดจำนี้ย่อมเป็นประกันการที่จะปฏิบัติตามสัญญานั้นด้วย”