closelawyer@gmail.com       080-919-3691

การแปลงหนี้ใหม่นั้น คือ การที่คู่กรณีที่เกี่ยวข้องในการทำสัญญาได้ตกลงปลงใจกันมีเจตนาที่จะทำสัญญากันใหม่โดยเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้  ทำให้หนี้เดิมระงับไป คู่กรณีจึงต้องบังคับกันตามสัญญาที่ทำขึ้นใหม่นั้น และทำให้หนี้เดิมนั้นสิ้นความผูกพันกันตามสัญญา

ตัวอย่าง นาย ก.ทำสัญญาแปลงหนี้เงินกู้กับ นาย ข. เป็นสัญญาซื้อขายรถยนต์แทน ถือว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่ ต่อมาหาก นาย ข. มิได้ปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายรถยนต์ให้แก่ นาย ก. จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาและนาย ก. มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ ดังนั้น เมื่อสัญญาที่ทำขึ้นใหม่ไม่ได้เกิดขึ้นจึงต้องถือว่าหนี้อันจะพึงต้องเกิดขึ้นเพราะแปลงหนี้ใหม่นั้นมิได้เกิดมีขึ้น หนี้เดิมคือหนี้กู้ยืมที่ นาย ข. จะต้องชำระให้แก่ นาย ก. จึงไม่ระงับสิ้นไป  นาย ข. จึงต้องชำระให้แก่ นาย ก. ต่อไป

อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13199/2558 ก่อนที่จำเลยจะทำสัญญาจะซื้อจะขายทาวน์เฮ้าส์ให้แก่โจทก์  โจทก์มีสิทธิได้รับเงินจากการขายที่ดินจากจำเลยจำนวน 6,000,000 บาท  และได้แปลงหนี้ใหม่มาเป็นสัญญาจะซื้อจะขายทาวน์เฮ้าส์  แต่จำเลยก็มิได้สร้างทาวน์เฮ้าส์ให้แก่โจทก์  จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาและโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้  เมื่อจำเลยยังไม่ได้ก่อสร้างทาวน์เฮ้าส์จึงต้องถือว่าหนี้อันจะพึงเกิดขึ้นเพราะการแปลงหนี้ใหม่นั้นยังมิได้เกิดขึ้น  หนี้เดิมคือหนี้เงินที่จำเลยต้องชำระให้แก่โจทก์ตามที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากการขายที่ดินให้จำเลย จำนวน 6,000,000 บาท  จึงไม่ระงับสิ้นไปตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 351

ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 351 ถ้าหนี้อันจะพึงเกิดขึ้นเพราะแปลงหนี้ใหม่นั้นมิได้เกิดขึ้นก็ดี ได้ยกเลิกเสียเพราะมูลแหงหนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือเพราะเหตุอย่างใด อย่างหนึ่งอันมิรู้ถึงคู่กรณีก็ดี ท่านว่าหนี้เดิมนั้นก็ยังหาระงับสิ้นไปไม่

 

ปรึกษากฎหมายโทร📞 080-9193691,☎️ 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 ไลน์ @closelawyercmi

หากเจ้าหนี้กับลูกหนี้ได้ตกลงหนี้ใหม่แทนหนี้เดิม ต่อมาลูกหนี้ไม่ได้ปฏิบัติตามสัญญา เจ้าหนี้ต้องฟ้องต่อศาลตามสัญญาหนี้ใหม่ที่ทำแทนฉบับเก่า มิอาจนำสัญญาฉบับเดิมมาบังคับใช้
Scroll to top
error: Content is protected !!