closelawyer@gmail.com       080-919-3691

กรณีที่ระหว่างจดทะเบียนสมรสคู่สามีภรรยาตามกฎหมาย เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้เสียชีวิตไปย่อมต้องเข้าจัดการมรดก แต่กรณีมักเกิดปัญหาว่าทรัพย์สินใดเป็นสินส่วนตัว หรือสินสมรส ที่จักต้องแบ่งให้แก่คู่สมรสครึ่งหนึ่งก่อนที่จะถือว่าเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายเจ้ามรดก แต่กฎหมายสันนิษฐานไว้ก่อนว่าหากได้มาระหว่างสมรสต้องเป็นสินสมรส เว้นแต่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียคนใดจะนำข้อเท็จจรริง ว่ามิใช่สินสมรสมาโต้แย้งตามสิทธิของตน ปัญหานี้มักจะเกิดขึ้นกับคนรวยและมีทรัพย์สินมาก แล้วสุดท้ายกลับมีภรรยาหลายคนหรือมีบุตรนอกสมรส ที่จะต้องขอแบ่งทรัพย์มรดกต่อทายาท

แต่หากกรณีใดสามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นสินส่วนตัว มิใช่สินสมรสจักต้องแบ่งให้แก่ทายาทโดยธรรมเท่ากันทุกคนตามกฎหมาย มิจำต้องแบ่งให้แก่คู่สมรสก่อน

อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19772/2557 การสมรสสิ้นสุดด้วยความตาย การหย่าหรือศาลพิพากษาให้เพิกถอน เมื่อโจทก์กับผู้ตายจดทะเบียนสมรสกันวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2517 และจดทะเบียนหย่ากันเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2545 ดังนี้ ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2517 ถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2545 การสมรสของโจทก์กับผู้ตายยังมีอยู่ เมื่อคู่ความรับว่าทรัพย์สินตามฟ้องผู้ตายได้มาระหว่างสมรสกับโจทก์ ย่อมเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับผู้ตาย และในทะเบียนหย่าก็ไม่มีบันทึกเป็นหลักฐานลงลายมือชื่อโจทก์ระบุข้อความว่าโจทก์สละสินสมรสที่ตนมีสิทธิได้ ทั้งกรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือไม่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส เมื่อโจทก์กับผู้ตายจดทะเบียนหย่ากัน ต้องแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวในวันจดทะเบียนหย่าให้โจทก์และผู้ตายคนละครึ่งหนึ่ง

มาตรา 1501  การสมรสย่อมสิ้นสุดลงด้วยความตาย การหย่า หรือศาลพิพากษาให้เพิกถอน

 

ปรึกษากฎหมายโทร📞 080-9193691,☎️ 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 ไลน์ @closelawyercmi

หากสามีหรือภรรยา ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ตายลงและสงสัยว่าทรัพย์สินนั้นเป็นของฝ่ายใด กฎหมายสันนิษฐานว่าเมื่อได้มาระหว่างสมรส ต้องเป็นสินสมรสตามกฎหมาย
Scroll to top
error: Content is protected !!