หากฝ่าฝืน พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคล พ.ศ.2562 ต้องรับผิดในทางแพ่งด้วย
เมื่อมีการฝ่าฝืนกฎหมาย คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๑๒ กฎหมายบัญญัติให้เกิดผลทั้งในทางอาญาและความรับผิดทางแพ่ง โดยในกรณีของทางแพ่งนั้น เป็นกรณีของการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้น พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูล ส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ จึงได้มีการบัญญัติเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่งไว้ ตั้งแต่มาตรา ๗๗ ถึง มาตรา ๗๘
เกี่ยวกับผู้รับผิดทางแพ่ง มาตรา ๗๗ ได้บัญญัติเกี่ยวกับผู้รับผิดทางแพ่ง และเหตุของการรับผิดได้ กล่าวคือ ผู้ ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับข้อมูลส่วน บุคคลอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ทำให้เกิดความเสียหาย ต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้นแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าการดำเนินการนั้นจะเกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อหรือไม่ก็ตาม เว้นแต่ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลนั้นจะพิสูจน์ได้ว่า
(๑) ความเสียหายนั้นเกิดจากเหตุสุดวิสัย หรือเกิดจากการกระทำหรือละเว้นการกระทำ ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลนั้นเอง
(๒) เป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติการตามหน้าที่และอำนาจตาม
กฎหมาย
สำหรับความหมายของค่าสินไหมทดแทนนั้น มาตรา ๗๗ วรรคท้าย ได้บัญญัติให้ หมายความรวมถึงค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ใช้จ่ายไปตามความจำเป็นในการป้องกันความเสียหายที่กำลังจะเกิดขึ้นหรือระงับความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้วด้วย
๒. ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษ
มาตรา ๗๘ วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษ โดยกฎหมาย กำหนดให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลจ่ายค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษเพิ่มขึ้นจากจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่แท้จริงที่ศาลกำหนด ได้ตามที่ศาลเห็นสมควร แต่ไม่เกินสองเท่าของค่าสินไหมทดแทนที่แท้จริงนั้น ทั้งนี้ โดยคำนึง ถึงพฤติการณ์ต่าง ๆ เช่น ความร้ายแรงของความเสียหายที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้รับ ผล ประโยชน์ที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลได้รับ สถานะทางการ เงินของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล การที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วน บุคคลหรือผู้ประมวลผล ข้อมูลส่วนบุคคลได้บรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้น หรือการที่เจ้าของ ข้อมูลส่วนบุคคลมีส่วนในการก่อให้เกิดความเสียหายด้วย
ค่าเสียหายเชิงลงโทษจะมีผลเป็นมาตรการเพื่อป้องปรามไม่ให้ผู้ประกอบการฝ่าฝืน กฎหมายเพราะมีค่าเสียหายที่ต้องจ่ายจำนวนมาก ประโยชน์ที่ได้จากการกระทำการฝ่าฝืน กฎหมายอาจจะไม่คุ้มค่ากับค่าเสียหายเชิงลงโทษที่ต้องจ่ายตามคำพิพากษาของศาล เนื่องจาก ต้องจ่ายค่าเสียหายเกินกว่าค่าเสียหายที่แท้จริง แต่กฎหมายบัญญัติให้ศาลกำหนดได้ตามที่เห็น สมควร แต่ไม่เกินสองเท่าของค่าสินไหมทดแทนที่แท้จริง โดยต้องคำนึงถึงพฤติการณ์และข้อเท็จ จริงต่าง ๆ ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954
หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @closelawyercmi
หรือ คลิก https://lin.ee/Zu2JmNU
หากฝ่าฝืน พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคล พ.ศ.2562 ต้องรับผิดในทางแพ่งด้วย