closelawyer@gmail.com       080-919-3691

ผลกระทบหลังยกเลิก พ.ร.บ.เช็ค
“ปัจจุบันนี้ ร่างพระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการใช้เช็คผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีแล้ว
แต่ยังไม่บังคับใช้ โดยยังเหลือขั้นตอนการพิจารณาของสภา กฤษฎีกา และการทูลเกล้าให้ลงพระปรมาภิไธยอยู่ ซึ่งน่าจะใช้บังคับไม่เกินปีพ.ศ. 2568
ระหว่างนี้ ผู้เสียหายยังสามารถฟ้องคดีเช็ค หรือนำเช็คเด้งเข้าแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนได้อยู่ แต่หลังจากมีการยกเลิกกฎหมายแล้ว จะแบ่งได้
4 กรณี ดังนี้”
1.คดีในชั้นศาลที่ตกลงผ่อนไปแล้วแต่ยังไม่พิพากษา : ให้ถือว่าข้อตกลงผ่อนเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ และศาลสามารถพิพากษาตามยอมในส่วนแพ่งได้ หากลูกหนี้ผิดนัดให้บังคับคดีได้
2.คดีที่ฟ้องอาญาและเรียกค่าเสียหายไปด้วย : ให้ศาลจำหน่ายคดีในส่วนอาญา และพิจารณาเฉพาะส่วนแพ่ง
3.คดีที่ศาลพิพากษาให้จำคุกไปแล้ว : หากถูกจำคุกอยู่ให้ปล่อยทันที และแจ้งให้ศาลทราบโดยไม่ต้องรอให้ศาลออกหมายปล่อย
“4.คดีที่ศาลพิพากษาจำคุกไปแล้ว และจำเลยถูกจำคุกโดยผลของคดีอื่นด้วย : ให้ถือว่าโทษที่จำคุกไปแล้วในคดีเช็ค เป็นการจำคุกในความผิดฐานอื่น
ถ้าโทษที่รับไปแล้วเท่าหรือเกินกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายอื่น ให้ปล่อย”
 
“ทั้งนี้ บทเฉพาะการไม่ได้กำหนดว่าคดีเช็คในชั้นสอบสวนจะมีผลเป็นอย่างไร
แต่ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 2 วรรคสอง บัญญัติว่า ถ้าบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง การกระทำไม่เป็นความผิดอีกต่อไป ให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด “
ดังนั้น พนักงานสอบสวนต้องสรุปสำนวนส่งพนักงานอัยการ และพนักงานอัยการต้องทำความเห็นสั่งไม่ฟ้องในข้อหาตาม พ.ร.บ.เช็ค
 
ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954
หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @cly.cmi
หรือ คลิก https://lin.ee/hCbTQl6
สาขาขอนแก่น โทร 095-9567735 แอดไลน์ @cly.kkn
หรือ คลิก https://lin.ee/U10ElNk
www.closelawyer.co.th
#ทนายใกล้ตัว
ผลกระทบหลังยกเลิก พ.ร.บ.เช็ค
Scroll to top
error: Content is protected !!