closelawyer@gmail.com       080-919-3691

ชายหญิงแต่งงานกัน ก่อเกิดผลอะไรบ้างในทางกฎหมาย
เมื่อคู่รักได้มีการจดทะเบียนสมรสกันเกิดขึ้น ย่อมมีผลตามมาในทางกฎหมาย ในอันที่จะก่อให้ทั้งสามี และภริยามีสิทธิ หน้าที่กันในทางกฎหมายอย่างไรบ้างนั้น ซึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้กำหนดสิทธิและหน้าที่ในระหว่างความสัมพันธ์ของสมีและภริยาเอาไว้ ดังนี้
ความสัมพันธ์ในการอุปการะเลี้ยงดู
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461
“สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา สามีภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตน “
เมื่อมีการสมรสกันเกิดขึ้น สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่ที่จะต้องอุปากระเลี้ยงดูซึ่งกันและกันตามสมควร หากสามีหรือภริยาไม่ได้ให้การอุปการะช่วยเหลือเลี้ยงดูกันตามความสามารถ และฐานะที่มี ยอมเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งสามารถที่จะฟ้องหย่าได้
คำพิพากษาฎีกา3822/2524 ความสามารถและฐานะของโจทก์เห็นประจักษ์แจ้งว่าดีกว่าจำเลย
โจทก์ผู้เป็นสามีจึงต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูจำเลยซึ่งเป็นภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1461 ประกอบด้วยมาตรา1597/38 โจทก์จำเลยต่างสมัครใจแยกกันอยู่ โจทก์จะกล่าวหาว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ไม่ได้ จำเลยใช้มีดแทงโจทก์ตั้งแต่ก่อนโจทก์จำเลยจะมีบุตรด้วยกัน โจทก์เห็น
ว่าจำเลยเป็นภริยาและมีบุตรด้วยกันจึงไม่ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลย แสดงว่าโจทก์ได้ให้อภัยแก่จำเลยแต่แรกแล้ว ถือได้ว่าสิทธิฟ้องหย่าในข้อนี้ย่อมหมดไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1518
คำพิพากษาฎีกา 1340/2558 โจทก์ที่ 2 กับจำเลยเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายและอยู่กินฉันสามีภริยาที่บ้านพิพาทจนกระทั่งโจทก์ที่ 2 ล้มป่วยลงด้วยโรคหลอดเลือดในสมองตีบ เมื่อพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1461 โจทก์ที่ 2 กับจำเลยต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาและต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตน ซึ่งหมายความรวมถึงการดูแลทุกข์สุขและความเจ็บป่วยซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันในบ้านพิพาทจึงเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้โจทก์ที่ 2 กับจำเลยสามารถปฏิบัติหน้าที่ในฐานะสามีภริยาต่อกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยมีพฤติการณ์ส่อไปในทางไม่สมัครใจที่จะดูแลโจทก์ที่ 2 การให้จำเลยออกไปจากที่ดินและบ้านพิพาทย่อมเป็นอุปสรรคขัดขวางทำให้จำเลยไม่สามารถดูแลโจทก์ที่ 2 ได้ เมื่อโจทก์ที่ 2 เป็นเจ้าของร่วมคนหนึ่งในที่ดินและบ้านพิพาท ย่อมมีสิทธิที่จะใช้สอยและอยู่อาศัยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1360 จำเลยในฐานะภริยาของโจทก์ที่ 2 ก็ย่อมมีสิทธิที่จะอยู่อาศัยในที่ดินและบ้านพิพาทเช่นกัน หากจำเลยมีพฤติกรรมกระทำการอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างไร ก็ชอบที่โจทก์ที่ 2 จะใช้สิทธิฟ้องหย่าเป็นคดีต่างหาก โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย
ส่วนโจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมจะใช้สิทธิของตนให้ขัดต่อสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่นไม่ได้ จำเลยในฐานะภริยามีสิทธิพักอาศัยในที่ดินและบ้านพิพาทโดยอาศัยสิทธิของโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่ง โจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 5 จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยด้วยเช่นกัน
คำพิพากษาฎีกา 3192/2549 ป.พ.พ. มาตรา 1461 เป็นบทบัญญัติในหมวด 3 เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา ซึ่งเป็นเรื่องภายหลังการสมรสตามหมวด 2 เรื่อง เงื่อนไขแห่งการสมรส กล่าวคือ เมื่อสมรสกันแล้วหากฝ่ายใดปฏิบัติฝ่าฝืนมาตรา 1461 ดังกล่าวก็จะเป็นเหตุฟ้องหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (4) หรือ (6) ที่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอาจนำมาฟ้องร้องได้เท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการฟ้องหย่าระหว่างโจทก์กับพลตำรวจตรี ว. และไม่มีคำพิพากษาของศาลให้หย่ากัน การสมรสระหว่างโจทก์กับพลตำรวจตรี ว. จึงยังสมบูรณ์ตามกฎหมาย แม้หากโจทก์กับพลตำรวจตรี ว. จะมิได้อยู่ด้วยกันและมิได้ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันในระยะหลังก็มิได้มีผลต่อความสมบูรณ์ของการสมรสระหว่างโจทก์กับพลตำรวจตรีว. โจทก์จึงยังเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของพลตำรวจตรี ว. อยู่ตลอดมา เมื่อจำเลยมาจดทะเบียนสมรสกับพลตำรวจตรี ว. ขณะที่พลตำรวจตรี ว. มีโจทก์เป็นคู่สมรสอยู่จึงเป็นการสมรสที่ฝ่าฝืนเงื่อนไขแห่งการสมรสในมาตรา 1452 และเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 แม้ต่อมาพลตำรวจตรี ว. ถึงแก่ความตาย โจทก์ก็เป็นผู้มีส่วนได้เสียที่มีอำนาจฟ้องขอให้การสมรสระหว่างจำเลยกับตำรวจตรี ว. เป็นโมฆะได้
ความสัมพันธ์ในการเป็นผู้ดูแลเมื่อคู่สมรสฝ่ายใดตกเป็นผู้ไร้ความสมารถ
เมื่อชายและหญิงตกลงที่จะใช้ชีวิตร่วมกันในฐานะคู่ชีวิตแล้ว หากต่อมาปรากฏว่าอีกฝ่ายตกเป็นคนไร้ความสามารถทำให้ไม่อาจจัดการการงานใดๆ ให้มีผลทางกฎหมายแล้ว อีกฝ่ายจะต้องเข้ามาเป็นผู้รับผิดชอบดูแล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1463
“ ในกรณีที่ศาลสั่งให้สามีหรือภริยาเป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ ภริยาหรือสามีย่อมเป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ แต่เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรืออัยการร้องขอ และถ้ามีเหตุสำคัญ ศาลจะตั้งผู้อื่นเป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ก็ได้ ”
คำพิพากษาฎีกา 878/2518 คือถ้าศาลมีคำสั่งให้สามีหรือภริยา เป็นคนไร้ความสามารถ อีกฝ่ายจะเป็นผู้อนุบาล หรือถ้าศาลมีคำสั่งให้สามีหรือภริยา เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ อีกฝ่ายย่อมจะเป็นผู้อนุบาล กรณีที่ศาลสั่งให้สามีหรือภริยาเป็นคนไร้ความสามารถจะต้องตั้งคู่สมรสเป็นผู้อนุบาลก่อนเพียงคนเดียว หากมีผู้อื่นร้องขอและมีเหตุสำคัญ ศาลจะตั้งผู้อื่นเป็นผู้อนุบาลก็ได้ การจะตั้งทั้งคู่สมรสและบุคคลอื่นเป็นผู้อนุบาลร่วมกันจะไม่สอดคล้องกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1463
การจัดการสินสมรสของคนไร้ความสามารถ ผู้อนุบาลต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/16 คือถ้าเป็นการจัดการตามมาตรา 1476 วรรคหนึ่ง ก็จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาลร่วมกับผู้คัดค้าน
ในกรณีที่ผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์มิได้เป็นสามีหรือภริยาของคู่สมรส ในมาตรา 1463 ตอนท้าย ได้บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสีย หรือพนักงานอัยการร้องขอให้ศาลตั้งผู้อื่นเป็นผู้อนุบาลได้
การที่ศาลสั่งให้สามีหรือภริยาเป็นคนไร้ความสามารถ พร้อมทั้งให้สามีหรือภริยา เป็นผู้อนุบาล มีผลให้ผู้อนุบาลมีสิทธิและอำนาจเช่นเดียวกับผู้ใช้อำนาจปกครอง ทั้งในเรื่องของทรัพย์สิน คู่สมรสซึ่งเป็นผู้อนุบาลมีอำนาจจัดการสินสมรสแต่เพียงผู้เดียว และมีอำนาจจัดการสินสมรสที่เป็นของผู้ไร้ความสามารถได้ด้วย
ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954
หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @closelawyercmi
หรือ คลิก https://lin.ee/Zu2JmNU
ชายหญิงแต่งงานกัน ก่อเกิดผลอะไรบ้างในทางกฎหมาย
Scroll to top
error: Content is protected !!