ผู้เยาว์จะทำการสมรสได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของบิดามารดา ผู้รับบุตร บุญธรรมหรือผู้ปกครอง
การที่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองจะให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ทำการสมรสนั้น ทำได้ 3 วิธี คือ
1. บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองลงลายมือชื่อในทะเบียนขณะจด ทะเบียนสมรสเพื่อให้เป็นหลักฐานไว้
2. บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองทำหนังสือแสดงความยินยอมโดยระบุชื่อผู้จะสมรสทั้งสองฝ่าย และลงลายมือชื่อของผู้ให้ความยินยอมไว้ด้วย
3. ถ้ามีเหตุจำเป็น บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองจะให้ความ ยินยอมด้วยวาจาต่อหน้าพยานอย่างน้อย 6 คน ก็ได้ แต่วิธีนี้เป็นข้อยกเว้นใช้ได้เฉพาะเมื่อ มีเหตุจำเป็น เช่น กำลังป่วยหนักเข้ารักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล ต้องนำแพทย์และนางพยาบาล 2 คน ไปให้ถ้อยคำต่อนายทะเบียน ซึ่งเป็นกรณีเหมือนกับการทำพินัยกรรมในเหตุฉุกเฉิน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๕๕ การให้ความยินยอมให้ทำการสมรสจะกระทำได้แต่โดย
(1) ลงลายมือชื่อในทะเบียนขณะจดทะเบียนสมรส
(2) ทำเป็นหนังสือแสดงความยินยอมโดยระบุชื่อผู้จะสมรสทั้งสองฝ่ายและลงลายมือชื่อของผู้ให้ความยินยอม
(3) ถ้ามีเหตุจำเป็น จะให้ความยินยอมด้วยวาจาต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนก็ได้
ความยินยอมนั้น เมื่อให้แล้วถอนไม่ได้
ข้อสังเกต : ความยินยอมของบิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองที่ให้ผู้เยาว์ทำการ สมรสนั้น เมื่อให้ความยินยอมถูกต้องตามวิธีการดังกล่าวแล้ว จะถอนความยินยอมไม่ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 761/2495 การจะจดทะเบียนสมรสหรือไม่นั้น เป็นหน้าที่ของ ชายหญิงคู่สมรสเอง บิดามารดาของหญิงมีแต่จะให้ความยินยอมในกรณีจำเป็น ฉะนั้น เมื่อไม่ ปรากฏว่าบิดามารดาของหญิงได้ขัดขวางไม่ให้บุตรสาวไปจดทะเบียนกับชายหรือไม่ให้ ความยินยอมอนุญาตแต่ประการใดแล้ว ชายจะฟ้องขอให้บิดามารดาหญิงใช้ค่าเสียหาย แก่ตนในการที่ตนไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับหญิงไม่ได้
ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954
หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @closelawyercmi
หรือ คลิก https://lin.ee/Zu2JmNU
ผู้เยาว์จะทำการสมรสได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของบิดามารดา ผู้รับบุตร บุญธรรมหรือผู้ปกครอง