closelawyer@gmail.com       080-919-3691

การบอกกล่าวเรียกประชุมบริษัทจำกัด มีวิธีการอย่างไร
 
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1175 บัญญัติว่า “ คำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ให้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราวก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน และส่งทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนที่มีชื่อในทะเบียนของบริษัทก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เว้นแต่เป็นคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่เพื่อลงมติพิเศษ ให้กระทำการดังว่านั้นก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าสิบสี่วัน
คำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่นั้น ให้ระบุสถานที่ วัน เวลา และสภาพแห่งกิจการที่จะได้ประชุมปรึกษากัน และในกรณีที่เป็นคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่เพื่อลงมติพิเศษให้ระบุข้อความที่จะนำเสนอให้ลงมติด้วย “
ข้อพิจารณา
1. ในกรณีดังต่อไปนี้กฎหมายให้ลงเป็นมติพิเศษ
1) การเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงข้อบังคับ หรือข้อความในหนังสือบริคณห์สนธิ ตามมาตรา 1145
2) การเพิ่มทุน ตามมาตรา 1220
3) การออกหุ้น ตามมาตรา 1221
4) การลดทุน ตามมาตรา 1224
5) การเลิกบริษัท ตามมาตรา 1236 (4)
6) การควบบริษัท ตามมาตรา 1238
7)การแปรสภาพจากบริษัทเอกชนเป็นบริษัทมหาชน (มาตรา 180 พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจํากัด
 
2. หากได้ความว่ามีการส่งทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนที่มีชื่อในทะเบียนบริษัทก่อนวันนัดประชุม น้อยกว่า 7 วัน การบอกกล่าวดังกล่าวย่อมไม่ชอบ
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3623/2527 หนังสือเชิญผู้ถือหุ้นมาประชุมก็คือคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1175 ถ้า แจ้งคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ไปให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าก่อนวันนัดประชุมน้อยกว่าเจ็ดวัน กรรมการหรือผู้ถือหุ้น คนหนึ่งคนใดมีอำนาจร้องขอให้ศาลเพิกถอนมติประชุมใหญ่อันผิดระเบียบนั้นตามมาตรา 1195 ผู้ที่ได้รับอนุมัติให้เป็น ผู้ถือหุ้นจากมติที่ประชุมใหญ่คราวที่ผิดระเบียบอันจะต้องเพิกถอน ไม่ถือว่าเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท ไม่มีสิทธิเข้าร่วมการ ประชุมใหญ่ของบริษัท มติของผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมประชุมใหญ่ของบริษัท หากไม่ครบองค์ประชุมตามข้อบังคับของบริษัท มติของที่ประชุมใหญ่นั้นไม่มีผลตามกฎหมายและถือได้ว่าเป็นมติของที่ประชุมใหญ่อันผิดระเบียบซึ่งผู้ถือหุ้นคนใดคน หนึ่งร้องขอให้ศาลเพิกถอนได้ตามมาตรา 1195
 
3. การนับเวลาในการส่งคำบอกกล่าวตามมาตรา 1175 นั้นให้นับวันที่กรรมการส่งคำบอกกล่าว มิได้นับ วันที่ผู้ถือหุ้นได้รับจดหมายแต่อย่างใด (ไม่ต้องคำนึงว่าหนังสือบอกกล่าวจะไปถึงเมื่อใด)
 
4. แม้การส่งหนังสือบอกกล่าวตามมาตรา 1175 จะไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่หากการประชุมครั้งนั้นมีผู้ถือ หุ้นมาประชุมพร้อมเพรียงกัน ย่อมถือว่าเป็นการบอกกล่าวที่ชอบ
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1091/2524 มาตรา 1175 เป็นบทกฎหมายที่มุ่งประสงค์ให้มีการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าว่าบริษัทจะ ได้จัดให้มีการประชุมใหญ่ในกิจการใด ที่ใด เมื่อใด เพื่อผู้ถือหุ้นจะได้มีโอกาสเตรียมตัวสอบถามหรือแสดงความ คิดเห็นได้โดยเต็มที่ แต่มิได้บังคับโดยเด็ดขาดว่าถ้าไม่แจ้งไปให้ผู้ถือหุ้นก่อนวันนัดประชุม 7 วันแล้ว การแจ้ง ดังกล่าวจะต้องเป็นโมฆะเสียเปล่า เพราะการนัดประชุมใหญ่ไม่จำต้องมีหนังสือแจ้งเพียงอย่างเดียว อาจทำโดยวิธี อื่นได้ เมื่อเป็นที่เห็นได้ว่าผู้ถือหุ้นทุกคนทราบกำหนดวันนัดประชุมใหญ่แล้ว แม้หนังสือแจ้งนัดประชุมใหญ่ไม่ได้ แจ้งให้ทราบล่วงหน้าก่อน 7 วัน ก็เป็นคำบอกกล่าวแจ้งประชุมใหญ่โดยชอบ
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่.7330/2553 ผู้ร้องทราบนัดและเข้าร่วมประชุมคราวปัญหาพร้อมกับผู้ถือหุ้นคนอื่น ๆ ครบทั้งหมด 7 คน สำหรับ การประชุมคราวปัญหาได้มีการแจ้งนัดประชุมให้ผู้ร้องทราบทางโทรศัพท์และเป็นการประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สิน ซึ่งผู้ร้อง ทราบปัญหาดี ผู้ร้องได้มีหนังสือขอให้เรียกประชุมผู้ถือหุ้นซึ่งมีการอ้างอิงบันทึกฉบับลงวันที่ 25 พ.ค. 2543 ที่มีการเสนอ ขายที่ดินเพื่อจัดการชำระหนี้ด้วย จึงเชื่อว่าผู้ร้องทราบล่วงหน้าถึงปัญหาและวาระที่ที่ประชุมจะต้องพิจารณา กับมีเวลาเตรียม ล่วงหน้าถึงปัญหาและวาระที่ที่ประชุมจะต้องพิจารตก ตัวเพื่อสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นอันจะเป็นประโยชน์แก่บริษัทได้เต็มที่ ต้องตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดให้แจ้งนัด ประชุมใหญ่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1175 แล้ว แม้การแจ้งนัดประชุมคราวปัญหาให้ผู้ร้องทราบจะกระทำโดยทางโทรศัพท์ แต่ ผู้ร้องก็ทราบนัดและเข้าร่วมประชุมด้วย การที่ผู้ร้องแพ้มติในที่ประชุมดังกล่าวแล้วกลับมายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนมติที่ ประชุมโดยอ้างว่าการแจ้งนัดประชุมไม่ได้ปฏิบัติตามวิธีการที่มาตรา 1175 บัญญัติไว้ ย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ผู้ ร้องจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องคดีนี้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
 
5. ในกรณีที่ได้มีการประชุมโดยชอบแล้ว และได้มีการเลื่อนการประชุมออกไป การนัดประชุมคราวที่เลื่อนออกไปนั้น ไม่ต้องดำเนินการแจ้งตามมาตรา 1175 อีก
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2533 หนังสือบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นที่ได้ออกในคราวแรกนั้น ได้กำหนด ระเบียบวาระการประชุม วันเวลาและสถานที่ประชุมโดยได้แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าเกินกว่า 7 วัน นับถึงวันนัด ประชุม ถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของบริษัทแล้ว แม้ต่อมาจะได้มีการเลื่อนวันประชุมออกไปจากกำหนด เดิม โดยวันที่ออกหนังสือแจ้งกำหนดเปลี่ยนแปลงวันประชุมและวันที่ผู้ถือหุ้นได้รับหนังสือดังกล่าวจะมีเวลาน้อย กว่า 7 วัน นับถึงวันนัดประชุมใหม่ที่เลื่อนออกไปก็ตาม ก็ต้องถือว่าการบอกกล่าวเรียกประชุมครั้งนี้ได้มีการแจ้งถึงผู้ ถือหุ้นตั้งแต่คราวแรกแล้ว หนังสือแจ้งกำหนดเปลี่ยนแปลงวันเวลาประชุมดังกล่าวเป็นแต่เพียงการแจ้งเปลี่ยนแปลง วันเวลาประชุมตามหนังสือที่แจ้งเดิมเท่านั้น
 
6. หากมีข้อบังคับของบริษัทกำหนดระยะเวลาในการเรียกประชุมให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าที่ยาวกว่าที่ กฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา 1175 ก็จะต้องบังคับไปตามข้อบังคับของบริษัท (แต่ถ้าข้อบังคับของบริษัทมีกำหนด ระยะเวลาที่สั้นกว่ามาตรา 1175 ข้อบังคับนั้นใช้ไม่ได้)
 
7. ตามมาตรา 1175 วรรคสอง หากว่าในการประชุมเพื่อปรึกษาลงมติในเรื่องสำคัญหรือกระทบต่อส่วน ได้เสียของผู้ถือหุ้น จะต้องระบุไว้ในคำบอกกล่าวเรียกประชุมด้วย ในกรณีที่ระบุไว้ท้ายหนังสือว่า “พิจารณาเรื่องอื่น ๆ” นั้น หมายความเพียงว่าเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ หากไม่มีการระบุไว้ว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการเพิ่มเติม แต่มีการระบุไว้ในตอนท้ายว่า “พิจารณาเรื่องอื่น ๆ ถ้ามี” หลังจากนั้น ในวันประชุม ที่ประชุมมีการแต่งตั้งกรรมการเพิ่มเติม แล้วที่ประชุมก็มีมติด้วยเสียงข้างมาก อนุมัติให้เปลี่ยนวาระการประชุม โดยวาระการประชุมที่เปลี่ยนแปลงใหม่นั้น มีการระบุข้อความใหม่ว่า “แต่งตั้ง กรรมการเพิ่มเติม” ดังนี้ ถือว่าเป็นวาระการประชุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากฝ่าฝืนมาตรา 1175 วรรคสอง
 
ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954
หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @closelawyercmi
หรือ คลิก https://lin.ee/Zu2JmNU
การบอกกล่าวเรียกประชุมบริษัทจำกัด มีวิธีการอย่างไร
Scroll to top
error: Content is protected !!