closelawyer@gmail.com       080-919-3691

ขายฝากที่พ้นกำหนดแล้ว ยังสามารถไถ่ได้อยู่หรือไม่
 
ขายฝากที่พ้นกำหนดไถ่ตามสัญญาแล้ว อาจต้องพิจารณาต่อว่ามีการขยายระยะเวลา หรือไม่ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กรณี คือ  การขยายโดยสมัครใจ  โดยการทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับไถ่ (ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ซื้อฝากคนปัจจุบัน)   และอีกกรณีหนึ่ง คือกรณีที่คู่สัญญาไม่ได้สมัครใจขยายระยะเวลา แต่ถือว่าขยายระยะเวลาไถ่กันโดยผลของกฎหมาย เช่น
– กำหนดระยะเวลาไถ่ต่ำกว่า 1 ปี ให้ถือว่าขยายเป็น 1 ปี
– ผู้ซื้อฝากไม่ยอมได้มีหนังสือลงทะเบียนตอบรับโดยระบุกำหนดวันเวลา จำนวนสินไถ่ ไปยังผู้ขายฝาก ภายใน 3 เดือนก่อนครบกำหนดไถ่  ให้ขยายไปอีก 6 เดือนนับตั้งแต่ครบเวลาไถ่
 
        หากมีการขยายระยะเวลาอย่างหนึ่งอย่างใด  ผู้ขายฝากย่อมสามารถไถ่ได้ตามสิทธิ แต่หากไม่ได้มีการขยาย และไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่กฎหมายถือว่าขยาย  ผู้รับซื้อฝากย่อมมีสิทธิบริบูรณ์ในทรัพย์ที่ขายฝาก ผู้ขายฝากจึงไม่มีสิทธิไถ่ตามสัญญาขายฝาก แต่ยังสามารถมีคำเสนอ เพื่อขอซื้อทรัพย์สินของตนเองคืนได้ตามกฎหมายทั่วไป และเป็นเรื่องของผู้รับซื้อฝากในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่จะแสดงเจตนาตอบรับคำเสนอหรือไม่ก็ได้ หรือเสนอราคาขายคืนอย่างไรก็ได้ ตามหลักทั่วไปของการทำสัญญา
 
อ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 496 กำหนดเวลาไถ่นั้น อาจทำสัญญาขยายกำหนดเวลาไถ่ได้ แต่กำหนดเวลาไถ่รวมกันทั้งหมด ถ้าเกินกำหนดเวลาตามมาตรา ๔๙๔ ให้ลดลงมาเป็นกำหนดเวลาตามมาตรา ๔๙๔
 
              การขยายกำหนดเวลาไถ่ตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับไถ่ ถ้าเป็นทรัพย์สินซึ่งการซื้อขายกันจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ห้ามมิให้ยกการขยายเวลาขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว เว้นแต่จะได้นำหนังสือหรือหลักฐานเป็นหนังสือดังกล่าวไปจดทะเบียนหรือจดแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
อ้างอิง พระราชบัญญัติ คุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดิน เพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย พ.ศ. ๒๕๖๒
 
มาตรา ๑๐ สัญญาขายฝากจะก าหนดเวลาไถ่ต่ำกว่าหนึ่งปีหรือเกินสิบปีมิได้ ในกรณี ที่กำหนดเวลาไถ่ต่ำกว่าหนึ่งปีหรือเกินสิบปี ให้ถือว่ากำหนดเวลาไถ่มีเวลาหนึ่งปี หรือสิบปี แล้วแต่กรณี แต่ผู้ขายฝากมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากก่อนครบกำหนดเวลาไถ่
 
มาตรา ๑๗ ก่อนวันครบกำหนดเวลาไถ่ไม่น้อยกว่าสามเดือนแต่ไม่มากกว่าหกเดือน ให้ผู้ซื้อฝาก แจ้งเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังผู้ขายฝากเพื่อให้ผู้ขายฝากทราบกำหนดเวลาไถ่ และจำนวนสินไถ่ พร้อมทั้งแนบสำเนาสัญญาขายฝากไปด้วย ในกรณีที่ผู้แจ้งมิใช่ผู้ซื้อฝากเดิม ต้องแจ้ง ไปด้วยว่าผู้ขายฝากจะต้องไถ่กับผู้ใดและสถานที่ที่จะต้องชำระสินไถ่
ในกรณีที่ผู้ซื้อฝากไม่ได้ดำเนินการแจ้งเป็นหนังสือไปยังผู้ขายฝากภายในระยะเวลาที่กำหนด ตามวรรคหนึ่งหรือมิได้ส่งสำเนาสัญญาขายฝากไปด้วย ให้ผู้ขายฝากมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากได้ภายใน หกเดือนนับแต่วันครบกำหนดไถ่ที่ระบุไว้ในสัญญาขายฝาก โดยผู้ขายฝากมีหน้าที่ชำระสินไถ่ตามจำนวน ที่กำหนดไว้ในสัญญา
 
ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954
หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @cly.cmi
หรือ คลิก https://lin.ee/hCbTQl6
สาขาขอนแก่น โทร 095-9567735 แอดไลน์ @cly.kkn
หรือ คลิก https://lin.ee/U10ElNk
ขายฝากที่พ้นกำหนดแล้ว ยังสามารถไถ่ได้อยู่หรือไม่
Scroll to top
error: Content is protected !!