closelawyer@gmail.com       080-919-3691

การลวงขาย (Passing off) คืออะไร
 
        การลวงขาย หมายถึง การที่บุคคลหนึ่งเอาสินค้าของตนไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของเจ้าของเครื่องหมาย การค้านั้น เป็นการทำให้สาธารณชนคิดว่าสินค้าของจำเลยมีส่วนเกี่ยวข้องกับโจทก์ จะต้องก่อให้เกิดความ เชื่อมโยงในจิตใจของสาธารณชน หรือทำให้สาธารณชนคิดว่าโจทก์ต้องรับผิดชอบ ไม่เพียงแต่ลวงในวัตถุ แต่ ลวงในความเป็นเจ้าของด้วย ซึ่งรวมถึงการลวงในรูปลักษณะ สีของสินค้า หีบห่อ หรือบรรจุภัณฑ์ด้วย
 
        แม้ในตัวบทมาตรา 46 วรรคสอง จะบัญญัติเกี่ยวกับการลวงขายว่าเป็นกรณีเกี่ยวกับเจ้าของเครื่องหมาย การค้าที่ไม่ได้จดทะเบียน แต่เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้วก็มีสิทธิฟ้องฐานลวงขายได้เหมือนกัน โดยปกติการละเมิดสิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว จำกัดเฉพาะการใช้เครื่องหมายการค้ากับ สินค้าจำพวกเดียวกันกับที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว หรือหากเป็นสินค้าต่างจำพวกกันก็ได้รับความคุ้มครองอย่างมาก เฉพาะกับสินค้าต่างจำพวกที่มีลักษณะอย่างเดียวกันเท่านั้น แต่หากใช้หลักลวงขาย ก็จะได้รับความคุ้มครองอย่าง กว้างขวางโดยไม่จํากัดจําพวกสินค้า
 
 
        ในคดีลวงขาย เครื่องหมายการค้าที่จำเลยนำไปใช้ไม่จำ 13737/2549) และค่าต้องเหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เพียงแต่คล้ายก็เข้าข่ายลวงขายได้แล้ว (ฎีกาที่ 3737/2549) และความมีชื่อเสียงของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เพียงแค่มีชื่อเสียงในประเทศไทยพอสมควร โดยไม่ต้องถึงขั้นเป็นเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป (Well- known mark ตามมาตรา 8 (10) หากจำเลยได้ระบุไว้ที่เครื่องหมายการค้าหรือกล่องสินค้าว่าจำเลยเป็นผู้ผลิต หรือมีป้ายและที่อยู่ของจําเลย ถือไม่ได้ว่าจําเลยเอาสินค้าของตนไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น
 
 
        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1422/2524 แม้เครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนซึ่งปรากฏอยู่บนกระป๋องสินค้าเกือบ เหมือนกับเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียน โดยต่างมีตัวอักษรโรมันคำว่า Glucolin และ Glucose และ อักษรไทยคำว่า กลูโคลิน และ กลูโคส อยู่ในกรอบสีดำที่มีขนาดเกือบเท่ากัน สาธารณชนอาจสับสนเข้าใจผิดว่า เป็นสินค้าของผู้ผลิตรายเดียวกัน แต่ในเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีคำว่า Utoption อยู่ในรูปสี่เหลี่ยมขนม เปียกปูน ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าที่จำเลยจดทะเบียนไว้แล้ว ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีคำว่า Glaxo อยู่ ในรูปสามเหลี่ยม แสดงว่าในการผลิตและการจำหน่ายโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยลงบนกระป๋อง สินค้า จำเลยได้กระทำให้ปรากฏว่าสินค้านั้นเป็นสินค้าของจำเลยแล้ว จึงไม่เป็นการลวงขาย
 
 
        เมื่อกรณีเข้าข่ายลวงขายแล้ว ก่อให้เกิดผลอย่างน้อย 2 ประการแก่เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จด ทะเบียน คือ มีสิทธิฟ้องคดีป้องกันการละเมิดสิทธิเครื่องหมายการค้านั้น หรือ เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อ การละเมิดสิทธิดังกล่าวได้ตามมาตรา 46
 
        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3287/2527 โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า “BOSS” ดีกว่าจำเลย จำเลยเป็นฝ่ายลอกเลียน เครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปลวงขาย ทำให้ผู้ซื้อสินค้าหลงผิดซื้อสินค้าของจำเลยโดยเข้าใจว่าเป็นสินค้าของ โจทก์ โจทก์ย่อมเป็นฝ่ายได้รับความเสียหายและฟ้องเรียกค่าเสียหายเอาได้
 
        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3438/2503 โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำว่า FAB กับสินค้าผงซักฟอก จำเลยเอาคำว่า FAB ในลักษณะและสีเช่นเดียวกับของโจทก์ไปใช้กับสินค้าไม้จิ้มฟันของจำเลย และนำสินค้านั้นออกลวงขาย ประชาชนให้เข้าใจผิดว่าสินค้าไม้จิ้มฟันของจำเลยเป็นสินค้าที่ผลิตโดยบริษัทของโจทก์ ตามฎีกาฉบับนี้ ศาลได้วาง หลักไว้ว่า การลวงขายมิได้จำกัดเฉพาะสินค้าชนิดเดียวกันหรือประเภทเดียวกันเท่านั้น หากแต่มีความหมายกว้าง คลอบคลุมถึงกรณีต่าง ๆ ซึ่งจำเลยเอาสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของผู้อื่น แปลความหมายได้ว่า ๆ ไม่ใช่แต่เป็นการลวงในวัตถุเท่านั้น หากแต่เป็นการลวงในความเป็นเจ้าของด้วย
 
สรุปหลักอันเป็นสาระสำคัญของการลวงขาย
 
1. สินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้าต้องเป็นที่รู้จักแก่สาธารณชน แต่ไ แต่ไม่ต้องถึงขั้นเป็นเครื่องหมายที่มี ชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป (Well-known mark) อย่างมาตรา 8 (10) ก็ได้ (ฎ.995/2550)
2. ต้องเป็นการลวงให้สาธารณชนเชื่อว่าสินค้าของจำเลย เป็นสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของเจ้าของ เครื่องหมายการค้านั้น มิใช่ลวงว่าเป็นของจำเลยเอง
3. เครื่องหมายการค้าที่จำเลยนำไปใช้ไม่จำต้องเหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เพียงแต่คล้ายก็ เข้าข่ายลวงขายได้แล้ว (ฎ. 3737/2549)
4. การลวงนั้น ไม่เพียงแต่ลวงในวัตถุ แต่รวมถึงลวงในความเป็นเจ้าของ หรือแหล่งกำเนิดของสินค้าก็ได้(ฎ.343/2503)
 
ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954
หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @closelawyercmi
หรือ คลิก https://lin.ee/Zu2JmNU
การลวงขาย (Passing off) คืออะไร
Scroll to top
error: Content is protected !!