อสังหาริมทรัพย์กับสังหาริมทรัพย์ต่างกันอย่างไร
๑. อสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ดินนั้นจะต้องมีเจ้าของเสมอ แต่สังหาริมทรัพย์นั้น อาจจะมีเจ้าของหรือไม่มีเจ้าของก็ได้
มาตรา ๑๓๑๘ บัญญัติว่า “บุคคลอาจได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์แห่งสังหา ริมทรัพย์ อันไม่มีเจ้าของโดยการเข้าถือเอา เว้นแต่การเข้าถือเอานั้นต้องห้ามตาม กฎหมายหรือฝ่าฝืนสิทธิบุคคลอื่นที่จะเข้าถือเอาสังหาริมทรัพย์นั้น”
การที่สังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นทรัพย์มีเจ้าของกลายเป็นทรัพย์ที่ไม่มีเจ้าของจะต้อง ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ ๒ ประการ ตามที่กำหนดในมาตรา ๑๓๑๙ คือ
๑. ยกเลิกการครอบครอง
๒. เจตนาสละกรรมสิทธิ์
๒. ทรัพย์สิทธิบางอย่างนั้นมีได้เฉพาะในอสังหาริมทรัพย์ ส่วนสังหาริมทรัพย์นั้น มีไม่ได้เป็นต้นว่าสิทธิอาศัย จำกัดเฉพาะอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโรงเรือนเท่านั้น สิทธิอาศัย ในรถยนต์ซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์มีไม่ได้โดยสภาพ นอกจากนั้นบรรดาทรัพย์สิทธิอื่น ๆ เช่นสิทธิเก็บกิน ภาระจำยอม สิทธิเหนือพื้นดิน ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์จะมีเฉพาะแต่ในอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น
๓. ระยะเวลาการได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ อสังหาริมทรัพย์ ใช้เวลา ๑๐ ปี ส่วนสังหาริมทรัพย์ใช้เวลา ๕ ปี
๔. แบบแห่งนิติกรรม การทำนิติกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้น จะมีการกำหนดแบบไว้เป็นพิเศษ เช่น ซื้อขาย (มาตรา ๔๕๖) ให้ (มาตรา ๕๒๕) แลกเปลี่ยน (มาตรา ๕๑๙) โดยต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หากไม่ทำตามแบบ ก็จะทำให้มีผลเป็นโมฆะ ส่วนนิติกรรมที่เกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์นั้นกฎหมายไม่ได้กำหนดแบบไว้
๕. แดนแห่งกรรมสิทธิ์ มีได้เฉพาะในอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ดินเท่านั้น โดย มาตรา ๑๓๓๕ กำหนดว่าแดนแห่งกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นกินทั้งเหนือพื้นดินและใต้พื้นดินด้วย
ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954
หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @cly.cmi
หรือ คลิก https://lin.ee/hCbTQl6
สาขาขอนแก่น โทร 095-9567735 แอดไลน์ @cly.kkn
หรือ คลิก https://lin.ee/U10ElNk
www.closelawyer.co.th
#ทนายใกล้ตัว