เมื่อตกอยู่ในเหตุอันตราย สามารถที่จะทำพินัยกรรมด้วยวาจาได้
พินัยกรรมนอกจากจะมีการทำเป็นหนังสือตามที่คนทั่วไปเข้าใจกันแล้ว ในอีกทางหนึ่งในขณะที่ผู้ที่ยังไม่ได้มีการทำพินัยกรรมไว้ ได้มาประสบเหตุกรณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งอันเป็นเหตุการณ์พิเศษ เช่น ตกอยูในอันตรายที่ใกล้จะถึงแก่ชีวิต หรือสงคราม หรือภัยพิบัติทางธรรมชาติ ผู้นั้นก็สามารถที่จะทำพินัยกรรมโดยทางวาจาได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๖๓ บัญญัติว่า “เมื่อมีพฤติการณ์พิเศษซึ่งบุคคลใดไม่สามารถ จะทำพินัยกรรมแบบอื่นที่กำหนดไว้ได้ เช่น ตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตาย หรือเวลามี โรคระบาด หรือสงคราม บุคคลนั้นจะทำพินัยกรรมด้วยวาจาก็ได้
เพื่อการนี้ ผู้ทำพินัยกรรมต้องแสดงเจตนากำหนดข้อพินัยกรรมต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคน ซึ่งอยู่พร้อมกัน ณ ที่นั้น
พยานสองคนนั้นต้องไปแสดงต่อกรมการอำเภอโดยมีชักช้า และแจ้งความที่ผู้ทำ พินัยกรรมได้สั่งไว้ด้วยวาจานั้น ทั้งต้องแจ้งวันเดือนปี สถานที่ที่ทำพินัยกรรมและพฤติการณ์พิเศษนั้นไว้ด้วย
ให้กรมการอำเภอจดข้อความที่พยานแจ้งนั้นไว้ และพยานสองคนนั้นต้องลง ลายมือชื่อไว้ หรือมิฉะนั้นจะให้เสมอกับการลงลายมือชื่อได้ก็แต่ด้วยลงลายพิมพ์นิ้วมือโดยมีพยานลงชื่อรับรองสองคน
มาตรา ๑๖๖๔ บัญญัติว่า “ความสมบูรณ์แห่งพินัยกรรมซึ่งทำขึ้นตามมาตรา ก่อนนั้นย่อมสิ้นไปเพื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือน นับแต่เวลาผู้ทำพินัยกรรมกลับมาสู่ฐานะที่จะ หาพินัยกรรมตามแบบอื่นที่กำหนดไว้ได้
ข้อพิจารณา มีดังนี้
๑. บุคคลผู้ทำพินัยกรรมจะต้องทำพินัยกรรมด้วยวาจา
๒. ต้องมีพฤติการณ์พิเศษ ซึ่งผู้ทำพินัยกรรมไม่สามารถจะทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่น
(ก) ผู้ทำพินัยกรรมตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตาย กฎหมายได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้กว้าง ๆ ใช้กับเหตุการณ์ทั่ว ๆ ไป ซึ่งอาจเกิดจากโรคภัยไข้เจ็บหรือด้วยเหตุ ใด ๆ ก็ตาม เช่น เรือล่ม เครื่องบินจะตก สัตว์ทำร้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๘๙/๒๔๘๖. การทำพินัยกรรมด้วยวาจา กฎหมายบังคับว่าต้องทำต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคน และพยานเช่นว่านั้นจะต้องไปแสดงตนต่อ กรมการอำเภอโดยมิชักช้า และแจ้งข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมสั่งด้วยวาจานั้น พยานของผู้ทำพินัยพินัยกรรมด้วยวาจาไปแจ้งและแสดงต่อกรมการอำเภอภายหลังวันทำพินัยกรรมเกือบ ๔ เดือน โดยไม่มีเหตุผลเพียงพอในการไปแจ้งล่าช้าพินัยกรรมด้วย พยานของผู้ทำพินัยกรรมด้วยวาจาไปแจ้งและแสดงต่อกรมการอำเภอ ภายหลัง วาจานั้นย่อมใช้บังคับไม่ได้สามล้อไปโรงพยาบาล ในระหว่างทางเจ้ามรดกสั่งพยานที่ไปส่งด้วยว่า ถ้าเป็นอะไรให้ยก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๙๗/๒๔๙๓ เจ้ามรดกเจ็บครรภ์จะคลอดบุตร นั่งรถ ทรัพย์ให้จําเลย ต่อมาเจ้ามรดกก็ตายที่โรงพยาบาล พยานเพิ่งนำความไปแจ้งแก่กรมการ อำเภอภายหลังที่สั่งไว้ถึง 4 วัน ทั้งที่พยานก็อยู่ใกล้อำาเภอ เช่นนี้จะปรับเข้าตามมาตรา ๑๖๖๓ ไม่ได้ เพราะไม่มีเหตุพอที่จะถือว่ามีพฤติการณ์พิเศษ ซึ่งเจ้ามรดกไม่สามารถทำ พินัยกรรมได้ประการหนึ่งและเป็นการขัดกับความในวรรคสามแห่งมาตรา ๑๖๖๓ ที่ บัญญัติว่าให้ไปแจ้งโดยมิชักช้า จึงถือว่าเป็นพินัยกรรมโดยชอบไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๗๒๖/๒๔๙๖ การป่วยเป็นโรคลมจุกเสียด ไม่ใช่โรค ระบาดดังมาตรา ๑๖๖๓ บัญญัติไว้ ฉะนั้นแม้ผู้ป่วยใกล้จะตาย ก็ย่อมจะทำพินัยกรรม ด้วยวาจาไม่ได้ (ข) ผู้ทำพินัยกรรมตกอยู่ในเวลาที่มีโรคระบาดหรือในเวลาสงคราม เป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ กล่าวคือ ถ้าผู้ทำพินัยกรรมตกอยู่ในสถานที่ที่มีโรคระบาดหรือสงครามแล้ว ก็เข้าหลักเกณฑ์แล้ว
๓. ผู้ทำพินัยกรรมแสดงเจตนากำาหนด พินัยกรรมต่อหน้าพยานอย่างน้อยสอง คนซึ่งอยู่พร้อมกัน ณ ที่นั้น หมายถึงผู้ทำพินัยกรรมสั่งพยานสองคนพร้อมกันว่าเมื่อผู้ทำ พินัยกรรมตายไปแล้วให้ทรัพย์มรดกอะไรบ้างตกแก่ผู้ใดบ้าง
๔. พยานสองคนนั้นต้องไปแสดงตนต่อหน้ากรมการอำเภอโดยไม่ชักช้า และ แจ้งข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมได้สั่งด้วยวาจา ทั้งต้องแจ้งวันเดือนปี สถานที่ที่ทำพินัยกรรม และพฤติการณ์พิเศษนั้นต่อหน้ากรมการอำเภอ พยานที่ไปแจ้งต้องไปทั้งสองคน แต่พยานคนหนึ่งคนใดจะแจ้งความก็ได้ และต้องแจ้งโดยมิชักช้า
๕. กรมการอำเภอต้องจดข้อความที่พยานนำมาแจ้ง และพยานสองคนนั้นต้อง ลงลายมือชื่อไว้ หรือจะลงลายพิมพ์นิ้วมือก็ได้ แต่ต้องมีพยานลงลายมือชื่อรับรองพยาน สองคนนั้น
ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954
หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @closelawyercmi
หรือ คลิก https://lin.ee/Zu2JmNU
เมื่อตกอยู่ในเหตุอันตราย สามารถที่จะทำพินัยกรรมด้วยวาจาได้