closelawyer@gmail.com       080-919-3691

หลักเกณฑ์การรับบุตรบุญธรรม
 
การรับบุตรบุญธรรมในประเทศไทยถือเป็นกระบวนการทางกฎหมายที่ได้รับการคุ้มครองและมีข้อกำหนดชัดเจนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522 ซึ่งถูกจัดทำขึ้นเพื่อรักษาสิทธิและสวัสดิภาพของเด็ก รวมถึงการให้ความสำคัญกับความเหมาะสมของผู้รับบุตรบุญธรรม เมื่อการรับบุตรบุญธรรมมีการจดทะเบียนแล้ว เด็กที่ถูกรับเป็นบุตรบุญธรรมจะถือเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรม โดยเด็กจะมีสิทธิเช่นเดียวกับบุตรโดยสายโลหิต รวมถึงสิทธิในทรัพย์สิน มรดก และการใช้นามสกุลของบิดามารดาบุญธรรม
 
โดยในการรับบุตรบุญธรรมนั้น ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีคุณสมบัติดังนี้
-อายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และต้องแก่กว่าบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี (ป.พ.พ. มาตรา 1598/19)
-หากผู้รับบุตรบุญธรรมได้จดทะเบียนสมรส คู่สมรสจะต้องให้ความยินยอมด้วย (ป.พ.พ. มาตรา 1598/25 )
– ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีความสามารถในการเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรบุญธรรมอย่างเหมาะสม (พระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522 มาตรา 21)
 
สำหรับผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมนั้น กฎหมายไม่ได้กำหนดคุณสมบัติพิเศษเอาไว้ เพียงแต่ต้องให้ความยินยอม โดยหากบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ การรับบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาเดิมของผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมทั้งสองคน เว้นแต่กรณีมีคนใดคนหนึ่งตายหรือถูกถอนอำนาจปกครอง ต้องได้รับความยินยอมจากบิดาหรือมารดาที่ยังอยู่ แต่หากยังไม่เสียชีวิต หรือให้ความยินยอมไม่ได้ เช่น ติดต่อไม่ได้ ไม่ให้ความยินยอม บิดามารดาของบุตรบุญธรรม หรืผู้รับบุตรบุญธรรม สามารถร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตให้เป็นบุตรบุญธรรมได้ ภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/21
 
นอกจากนี้ หากบุตรบุญธรรมอายุเกิน 15 ปีขึ้นไป บุตรบุญธรรมต้องให้ความยินยอมด้วย ภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1598/20
 
ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 ,ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 ,02-0749954
หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @cly.cmi
หรือ คลิก https://lin.ee/hCbTQl6
สาขาขอนแก่น โทร 095-9567735 แอดไลน์ @cly.kkn
หรือ คลิก https://lin.ee/U10ElNk
หลักเกณฑ์การรับบุตรบุญธรรม
Scroll to top
error: Content is protected !!