พินัยกรรมสามารถแก้ไขหรือยกเลิกภายหลังได้หรือไม่
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) มาตรา 1693 ระบุว่า ผู้ทำพินัยกรรมสามารถพินัยกรรมเสียทั้งหมด หรือแต่บางส่วน ในเวลาใดก็ได้ แต่หากพินัยกรรมมีหลายฉบับ การเพิกถอนนั้น ต้องทำในพินัยกรรมทุกฉบับจึงจะสมบูรณ์ ภายใต้มาตรา 1695
แต่ในส่วนของการแก้ไขนั้น มาตรา 1693 ไม่ได้บัญญัติเรื่องการแก้ไขไว้ด้วย แต่การแก้ไขนั้น จะทำได้เฉพาะกรณีพินัยกรรมแบบธรรมดา ตามมาตรา 1656 วรรคสองและแบบเขียนเอง ตามมาตรา 1657 วรรคสองเท่านั้น กล่าวคือ ถ้าเป็นพินัยกรรมแบบธรรมดา การแก้ไขเพิ่มเติมก็ต้องลงวันเดือนปีที่ทำขึ้นต่อหน้าพยานสองคนเช่นกัน แต่หากเป็นพินัยกรรมที่เขียนเองทั้งฉบับ การแก้ไขก็ต้องแก้ไขด้วยลายมือของตนและลงชื่อกำกับเท่านั้น
อย่างไรก็ดี การแก้ไขและการยกเลิกยังสามารถทำได้อีกวิธีหนึ่งด้วยการทำพินัยกรรมฉบับใหม่ที่มีเนื้อหาขัดกับฉบับเดิม ซึ่งจะมีผลเป็นการเพิกถอนพินัยกรรมฉบับเดิมที่มีข้อความขัดกันกับฉบับหลัง ภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1697
ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 ,ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 ,02-0749954
หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @cly.cmi
หรือ คลิก https://lin.ee/hCbTQl6
สาขาขอนแก่น โทร 095-9567735 แอดไลน์ @cly.kkn
หรือ คลิก https://lin.ee/U10ElNk
พินัยกรรมสามารถแก้ไขหรือยกเลิกภายหลังได้หรือไม่