การเปลี่ยนแปลงอำนาจปกครอง ทำได้หรือไม่
อำนาจปกครองบุตรเป็นสิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาในการดูแล อบรมสั่งสอน และจัดการทรัพย์สินของบุตร ตามที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) มาตรา 1567 โดยบิดามารดามีอำนาจปกครองบุตรจนกว่าบุตรจะบรรลุนิติภาวะหรือสามารถดูแลตนเองได้ โดยอำนาจปกครองนั้นต้องใช้ร่วมกันทั้งบิดาและมารดา
อย่างไรก็ดี ในกรณีที่ไม่ได้มีการหย่ากันนั้น ไม่มีกฎหมายให้อำนาจคู่สมรสถึงขนาดตกลงทำสัญญาแบ่งอำนาจปกครองกันได้ แต่ในทางปฏิบัติก็สามารถตกลงกันได้เหมือนดังเช่นการเลี้ยงดูบุตรโดยทั่วไป
การตกลงแก้ไขอำนาจปกครองนั้น อาจเกิดขึ้นได้เฉพาะในกรณีที่คู่สมรสหย่าขาดจากกัน โดยมาตรา 1520 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้อำนาจปกครองบุตรจะตกเป็นของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตามที่ตกลงกันได้ โดยศาลจะยึดถือการตกลงนั้นเป็นหลัก หากการตกลงดังกล่าวไม่ขัดต่อประโยชน์ของบุตร แต่หากไม่สามารถตกลงกันได้ ต้องให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาดโดยคู่หย่าฝ่ายหนึ่งอาจตั้งเรื่องฟ้องคู่หย่าอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อถอนอำนาจปกครองได้
แม้ตัวอำนาจปกครองจะไม่สามารถแก้ไขหรือเลือกใช้ได้ แต่ผู้ใช้อำนาจปกครองนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ตลอดแม้ศาลจะพิพากษาไปแล้วก็ตาม โดยหากผู้ใช้อำนาจปกครองประพฤติตัวไม่สมควร คู่หย่าฝ่ายหนึ่งก็สามารถยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งเปลี่ยนแปลงผู้ใช้อำนาจปกครองได้ ภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1521 โดยศาลจะพิจารณาประโยชน์ของบุตรเป็นสำคัญ
ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 ,ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 ,02-0749954
หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @cly.cmi
หรือ คลิก https://lin.ee/hCbTQl6
สาขาขอนแก่น โทร 095-9567735 แอดไลน์ @cly.kkn
หรือ คลิก https://lin.ee/U10ElNk
การเปลี่ยนแปลงอำนาจปกครอง ทำได้หรือไม่