closelawyer@gmail.com       080-919-3691

เช็คจะมีผลผูกพันตามกฎหมายระหว่างผู้ทรงเช็คและผู้สั่งจ่ายนั้น ต้องเป็นเช็คที่สั่งจ่ายชำระมูลหนี้ที่สามารถบังคับได้ด้วยกฎหมาย หากหนี้ที่เช็คนั้นได้สั่งจ่ายชำระหนี้ไปไม่มีผลที่จะบังคับกันได้ตามกฎหมายนั้นย่อมไม่สามารถแจ้งความร้องทุกข์หรือฟ้องผู้สั่งจ่ายในข้อหาสั่งจ่ายเช็คโดยเจตนาเพื่อไม่ให้ผู้ทรงได้รับชำระหนี้ตามกฎหมายมิได้ แต่ผู้ทรงสามารถนำเช็คดังกล่าวไปฟ้องร้องให้ผู้ทรงรับผิดในหนี้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินได้ ไม่ผิดต่อกฎหมาย

อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1795/2544 การออกเช็คของจำเลยจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4หรือไม่ โจทก์จะต้องนำสืบข้อเท็จจริงให้ได้ความสองประการคือมีหนี้ที่จะต้องชำระ และหนี้นั้นจะต้องบังคับได้ตามกฎหมายคดีนี้ ธ. อ้างว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทชำระหนี้ค่าขายสินค้ายางรถยนต์และล้อแม็กแก่โจทก์ร่วม เป็นการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ที่มีราคากว่า 500 บาทขึ้นไป แต่หลักฐานที่แสดงว่าจำเลยได้ซื้อและรับสินค้าไปจากโจทก์ร่วมแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม โจทก์ร่วมหาได้มีมาแสดงหรือนำสืบถึงเหตุที่ไม่อาจนำมาแสดงได้ไม่ จึงไม่พอฟังได้ว่า มูลหนี้ที่จำเลยออกเช็คพิพาทมาจากการชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายสินค้าดังกล่าวมูลหนี้ที่ออกเช็คพิพาทจึงไม่มีอยู่จริง การกระทำของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบความผิด

มาตรา 4  “ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

(1) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น

(2) ในขณะที่ออกเช็คนั้นไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้

(3) ให้ใช้เงินมีจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ในขณะที่ออกเช็คนั้น

(4) ถอนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนออกจากบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินตามเช็คจนจำนวนเงินเหลือไม่เพียงพอที่จะใช้เงินตามเช็คนั้นได้

(5) ห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คนั้นโดยเจตนาทุจริต

ปรึกษากฎหมายโทร📞 080-9193691,☎️ 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 ไลน์ @closelawyercmi

สั่งจ่ายเช็คชำระหนี้สินค้ามูลค่าเกินกว่า 20,000 บาท แต่มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือตามกฎหมายย่อมไม่ผูกพันผู้สั่งจ่าย จึงไม่ต้องรับผิดตามเช็คดังกล่าว
Scroll to top
error: Content is protected !!