closelawyer@gmail.com       080-919-3691

รู้ไว้เตือนใจ ก่อนเซ็น ค้ำประกัน
        “ผู้ค้ำประกัน” ภาษากฎหมาย หมายถึง บุคคลหนึ่งที่ยอมรับที่จะชำระหนี้แทนอีกบุคคล หากบุคคลนั้นไม่ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ ก่อนตกลงเซ็น ค้ำประกัน ให้กับใคร นั่นหมายความว่า คุณต้องสามารถจ่ายหนี้ก้อนนั้นได้ แบบ 100 % เต็ม ที่ต้องคิดแบบนี้ก็เพราะว่าวันนึงข้างหน้า มีโอกาสเกิดเหตุไม่คาดฝันได้เสมอ ลูกหนี้ที่คุณไว้ใจ อาจจะไม่ได้ตั้งใจจะ เบี้ยวหนี้ เพียงแค่ตัวเขา เกิดเหตุช็อต การเงินตึง กะทันหัน เข้าอารมณ์ ไม่มี ไม่หนี แต่ก็ไม่จ่าย ถ้าเป็นแบบนั้น คุณผู้ค้ำประกันต้องเป็นคนจ่ายแทนตามกฏหมายนั่นเอง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์
 

         มาตรา 680 อันว่าค้ำประกันนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ค้ำประกัน ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่ง เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น
อนึ่ง สัญญาค้ำประกันนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่
มาตรา 685 ถ้าเมื่อบังคับตามสัญญาค้ำประกันนั้น ผู้ค้ำประกันไม่ชำระหนี้ทั้งหมดของลูกหนี้ รวมทั้งดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน และอุปกรณ์ด้วยไซร้ หนี้ยังเหลืออยู่เท่าใด ท่านว่าลูกหนี้ยังคงรับผิดต่อเจ้าหนี้ในส่วนที่เหลือนั้น
สิทธิ์ผู้ค้ำประกัน
        1.ขอจำกัดวงเงินหนี้ ที่รับผิดชอบได้ผู้ค้ำประกันสามารถกำหนดจำนวนเงินและระยะเวลาในการค้ำประกันได้ ก่อนเซ็นควรตกลงและเซ็นสัญญากันเป็นลายลักษณ์อักษ
        2.ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยผู้ค้ำไม่ต้องรับผิดชอบหนี้ทั้งหมดเหมือนกับลูกหนี้ รับผิดชอบแค่ส่วนที่ตัวเองตกลงไว้ โดยหลังจากใช้หนี้แทนแล้วสามารถใช้สิทธิฟ้องไล่เบี้ยลูกหนี้ให้จ่ายเราคืน พร้อมดอกเบี้ย และค่าเสียหายได้
        3.เจ้าหนี้ต้องทวงลูกหนี้จนสุดความสามารถก่อนไม่ใช่อยู่ๆจะมาทวงกับผู้ค้ำได้ ในกรณีที่ลูกหนี้ผิดนัด เจ้าหนี้จะต้องทำหนังสือแจ้งผู้ค้ำให้ทราบก่อนภายใน 60 วัน และห้ามเรียกเอาหนี้กับผู้ค้ำในทันที จนกว่าพยายามไล่เบี้ยหรือเรียกหนี้กับลูกหนี้จนสุดความสามารถก่อน
        4.การค้ำประกันหนี้ในอนาคตหรือหนี้มีเงื่อนไข (เช่น ความเสียหายที่เกิดจากการค้ำประกันบุคคล) ต้องกำหนดรายละเอียดของหนี้และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน รวมทั้งจำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกันไว้เฉพาะหนี้ตามสัญญานั้น (จะต้องระบุว่าผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดชอบใน วงเงินไม่เกินเท่าไร)
        5.กำหนดให้ข้อตกลงเกี่ยวกับการค้ำประกันที่แตกต่างไปจากบทบัญญัติลักษณะค้ำประกันเป็นภาระแก่ผู้ค้ำประกันเกินสมควร ให้ข้อตกลงนั้นมีผลเป็นโมฆะ (จะกำหนดสัญญานอกเหนือจากที่กฎหมายบัญญัติไว้ ที่ทำให้ผู้ค้ำประกันเสียเปรียบไม่ได้)
        6.ให้ผู้ค้ำประกันได้รับประโยชน์จากการที่เจ้าหนี้กระทำการใดๆ อันมีผลเป็นการลดจำนวนหนี้ให้แก่ลูกหนี้ด้วย รวมทั้งกำหนดให้ข้อตกลงที่เป็นการเพิ่มภาระแก่ผู้ค้ำประกันเป็นโมฆะ (ถ้าเจ้าหนี้ลดหนี้ให้ลูกหนี้ก็มีผลถึงผู้ค้ำประกัน แต่ถ้าเป็นผลเสียแก่ผู้ค้ำจะใช้บังคับไม่ได้ )
        7.กำหนดให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้อันมีกำหนดเวลาแน่นอน หากเจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ และห้ามกำหนดข้อตกลงไว้ล่วงหน้าให้ผู้ค้ำประกันยินยอมที่จะเป็นประกันหนี้นั้นต่อไป แม้ว่าเจ้าหนี้จะผ่อนชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้แล้ว (ผลคือ การขยายเวลาการชำหนี้ หรือการปรับโครงสร้างหนี้จะต้องขอความยินยอมจากผู้ค้ำฯ มิฉะนั้นผู้ค้ำจะพ้นจากการเป็นผู้ค้ำทันที)
 
        ฎีกาที่ 3777/2560 สัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาที่ผู้ค้ำประกันตกลงผูกพันต่อเจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ดังนั้น การที่ผู้ค้ำประกันจำต้องชำระหนี้แก่เจ้าหนี้นั้น ผู้ค้ำประกันย่อมต้องชำระหนี้จากทรัพย์สินของผู้ค้ำประกันเอง ดังนั้น สัญญาค้ำประกันจึงมีวัตถุแห่งสิทธิเป็นทรัพย์สินของผู้ค้ำประกัน จึงมีลักษณะเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุเป็นสิทธิในทรัพย์สิน ซึ่งผู้ร้องมีอำนาจขอให้เพิกถอน ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113 ได้
 
        ฎีกาที่ 3785/2562 จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้ค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 28 ประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559 อันเป็นกรณีลูกหนี้ผิดนัดในขณะที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์(ฉบับที่20)มีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558 เป็นต้นมาซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 686 วรรคหนึ่งที่แก้ไขเพิ่มเติมบัญญัติว่าเมื่อลูกหนี้ผิดนัดให้เจ้าหนี้มีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกันภายใน 60 นับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัดและไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใดเจ้าหนี้จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก่อนที่หนังสือบอกกล่าวจะไปถึงผู้ค้ำประกันมิได้และวรรคสองบัญญัติว่าในกรณีที่เจ้าหนี้มิได้มีหนังสือบอกกล่าวภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่งให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทนตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนั้น บรรดาที่เกิดขึ้นภายหลังจากพ้นกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่งโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวและบอกเลิกสัญญาฉบับลงวันที่ 8 กันยายน 2559 ไปยังจำเลยที่ 2 แต่หนังสือบอกกล่าวทวงถามไปถึงจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันเกินกำหนด 60 วันนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดจำเลยที่ 2 จึงหลุดพ้นจากความรับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทนตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนี้ เฉพาะเท่าที่เกิดขึ้นภายหลังจากพ้นกำหนดระยะเวลา 60 วันนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ผิดนัด
ทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 คือรถยนต์ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องส่งมอบให้จำเลยที่ 1 ได้ใช้สอยหรือได้รับประโยชน์ตลอดระยะเวลาการชำระค่าเช่าซื้อเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อจนโจทก์บอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้วจำเลยที่ 1 ย่อมมีหน้าที่ต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อหรือใช้ราคาแทนแก่โจทก์ หนี้ที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระด้วยการส่งมอบรถยนต์หรือใช้ราคาแทนจึงเป็นหนี้ประธานหาใช้หนี้อุปกรณ์แห่งหนี้ไม่จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิดในการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนหรือใช้ราคาแทนแก่โจทก์
 
ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954
หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @closelawyercmi
หรือ คลิก https://lin.ee/Zu2JmNU
รู้ไว้เตือนใจ ก่อนเซ็น ค้ำประกัน
Scroll to top
error: Content is protected !!