โดยหลักของกฎหมายแล้ว ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 456 บัญญัติว่า “การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย”
แต่หากการซื้อขายบ้าน โดยการซื้อขายดังกล่าวเป็นการซื้อขายเพื่อเจตนาเพื่อรื้อถอนเป็นสังหาริมทรัพย์ เช่น กรณีซื้อเพื่อรื้อถอนเพื่อนำเอาชิ้นส่วนของตัวบ้านออกจำหน่าย หรือในกรณีเป็นเรือนไม้ หากเป็นการซื้อขายเพื่อรื้อเอาตัวไม้ เป็นต้น กรณีเช่นนี้ การซื้อขายบ้านในลักษณะเพื่อรื้อถอน จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 456 ที่จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แต่อย่างใด
ดังนั้นหากมีการซื้อขายในลักษณะเพื่อรื้อถอนโดยมิได้ดำเนินการตามมาตรา 456 การซื้อขายดังกล่าวก็สามารถบังคับได้ ไม่ตกเป็นโมฆะ
อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 799/2492 การซื้อขายเรือนซึ่งไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ย่อมไม่เป็นโมฆะเสมอไป ยังต้องอาศัยข้อเท็จจริงในทางพิจารณาอยู่ว่าเป็นการซื้อขายเรือนเพื่อรื้อเอาไป หรือว่าเป็นการซื้อขายเพื่อให้เรือนคงอยู่ในสภาพเดิม ซึ่งข้อบัญญัติของกฎหมายย่อมมีนัยต่างกัน
จากหลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 ดังกล่าว การซื้อขายบ้าน ซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ชนิดหนึ่ง ซึ่งหากมีการซื้อขายขึ้น ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงเป็นการซื้อขายที่ถูกต้อง ไม่ตกเป็นโมฆะ
ปรึกษากฎหมายโทร📞 080-9193691,☎️ 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 ไลน์ @closelawyercmi