closelawyer@gmail.com       080-919-3691

การสั่งจ่ายเช็คจะมีผลผูกพันเมื่อมูลหนี้นั้นชอบด้วยกฎหมายหรือมีอยู่จริง แต่หากได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์หรือให้ก่อให้เกิดสิ่งใดหรือทำสิ่งใดก็ตาม เมื่อยังทำไม่แล้วเสร็จตามระยะเวลาย่อมไม่อาจมิสิทธิ์ได้รับชำระหนี้แม้อีกฝ่ายหนึ่งจะตีเช็คมีกำหนดระยะเวลาตามสัญญาจะซื้อจะขายก็ตาม แต่หากได้เอาเช็คไปขึ้นเงินในขณะที่ตนยังไม่ส่งมอบงานตามสัญญา ผู้สั่งจ่ายย่อมไม่จำต้องรับผิดตามเช็คนั้น เนื่องจากยังไม่เกิดมูลหนี้ต่อกันตามสัญญาจะซื้อจะขาย

ตัวอย่าง นาย ก ทำสัญญาว่าจ้างให้ นาย ข ก่อสร้างบ้านให้แล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนและนาย ก เองก็ได้ตีเช็คชำระเงินค่าก่อสร้างและค่าแรงงานทั้งหมด ส่งมอบให้แก่นาย ข โดยกำหนดขึ้นเช็คตามสัญญาว่าจ้างดังกล่าว ปรากฏว่านาย ข ทำบ้านไม่แล้วเสร็จตามสัญญา แต่กลับนำเช็คไปขึ้นเงินและธนาคารได้ปฏิเสธการสั่งจ่ายเนื่องจากเมื่อนาย ข ยังก่อสร้างบ้านไม่แล้วเสร็จ นาย ก จึงไม่นำเงินเข้าเช็ค ยังมิได้มีการส่งมอบงาน จึงเป็นเหตุทำให้นาย ข ไม่มีสิทธิได้รับเงินตามเช็คหรือรับเงินตามสัญญาจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 66 – 67/2547 บ้านที่จำเลยซื้อจากโจทก์ชำรุดบกพร่อง และโจทก์ไม่ได้ซ่อมแซมให้เรียบร้อย เมื่อเกิดความชำรุดบกพร่องในทรัพย์สินที่ซื้อขาย ผู้ขายต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 472 ส่วนจำเลยผู้ซื้อชอบที่จะยึดหน่วงราคาที่ยังไม่ได้ชำระทั้งหมดหรือบางส่วน เว้นแต่ผู้ขายจะหาประกันที่สมควรให้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 488 ที่โจทก์ฎีกาว่าโจทก์เป็นบุคคลภายนอกเข้ารับช่วงสิทธิเรียกร้องโดยสุจริตไม่เกี่ยวข้องกับสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมบ้านระหว่างบริษัทกับจำเลย และจำเลยสามารถไปฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากบริษัทดังกล่าวได้นั้น เห็นว่าโจทก์เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทดังกล่าวและเป็นผู้กระทำแทนบริษัทตลอดมา ทั้งในขณะทำบันทึกการโอนสิทธิเรียกร้อง โจทก์ได้รับรองว่าจะซ่อมแซมความเสียหายทั้งหมดด้วยตนเอง แม้เช็คทั้งห้าฉบับจำเลยจะสั่งจ่ายชำระหนี้ตามบันทึกการโอนสิทธิเรียกร้อง แต่ก็เป็นเรื่องสืบเนื่องมาจากการวางเงินดาวน์ค่าที่ดินและบ้านตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมบ้าน เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าบ้านที่ชำรุดบกพร่องโจทก์ไม่ซ่อมแซมให้เรียบร้อย จำเลยชอบที่จะยึดหน่วงไม่ชำระราคาที่ดินและบ้านโดยไม่นำเงินเข้าบัญชีชำระหนี้ดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4

มาตรา ๔  ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

(๑) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น

(๒) ในขณะที่ออกเช็คนั้นไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้

(๓) ให้ใช้เงินมีจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ในขณะที่ออกเช็คนั้น

(๔) ถอนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนออกจากบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินตามเช็คจนจำนวนเงินเหลือไม่เพียงพอที่จะใช้เงินตามเช็คนั้นได้

(๕) ห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คนั้นโดยเจตนาทุจริต

เมื่อได้มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย ถ้าธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น ผู้ออกเช็คมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งปรับทั้งจำ

ปรึกษากฎหมายโทร📞 080-9193691,☎️ 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 ไลน์ @closelawyercmi

 

ทรัพย์สินที่จะซื้อจะขายยังไม่สมบูรณ์ตามสัญญาหนี้จึงยังไม่เกิด แม้จะสั่งจ่ายเช็คให้แก่กันก็ตามเมื่อเช็คดังกล่าวเด้งไม่ถือเป็นความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
Scroll to top
error: Content is protected !!