ไม่ว่าที่ดินแปลงใด ได้ยกประโยชน์ในที่ดินบางส่วนให้เป็นทางเข้าออกหรือทางผ่านไม่ว่าโดยผลของกฎหมายใช้เป็นทางผ่านเกินกว่า 10 ปี หรือโดยการจดทะเบียนภาระจำยอมด้วยความสมัครใจชำระค่าตอบแทนในการให้ใช้ที่ดิน หากพฤติการณ์ใดที่เป็นการเพิ่มภาระให้แก่ที่ดินที่ได้ตกเป็นภาระจำยอม มากกว่าตอนที่ตกลงจดทะเบียนหรือได้ภาระจำยอมตามผลของกฎหมาย ย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อที่ดินที่ได้ตกเป็นภาระจำยอมนั้น หากเจ้าของไม่ยินยอม ย่อมสามารถฟ้องร้องบังคับคดีต่อกันได้ ตามตัวบทกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1388 ผู้ได้ภาระจำยอมย่อมไม่สามารถก่อภาระใดๆ เพิ่มเติมจากเมื่อขณะที่ตนได้สิทธินั้นมาไม่ว่าทางกฎหมายหรือโดยจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่
ตัวอย่าง ผู้ได้สิทธิภาระจำยอมได้ใช้เป็นทางผ่าน ออกไปสู่ถนนสาธารณะโดยผลของกฎหมายเกินกว่า 10 ปี โดนลักษณะเป็นการใช้ทางเดินผ่านเท่านั้น มิได้เป็นการใช้รถยนต์ หรือจักรยานยนต์ผ่าน โดยถนนมีความกว้างเพียง 100 เซนติเมตร ปรากฏว่า ผู้ได้ภาระจำยอมได้นำรถเข้าไถเพื่อถางทาง อีกทั้งนำปูนซีเมนต์เข้าก่อสร้างเป็นทางรถ ขยายความกว่างของถนนออกเป็น 4 เมตร ถือเป็นการเพิ่มภาระให้แก่ที่ดินที่ตกอยู่ในภาระจำยอม เจ้าของที่ดินสามารถฟ้องร้องขอให้รื้อถอนและทำที่ดินกลับเป็นทางเดิมได้
อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3557/2551 จำเลยทำทางลาดในที่ดินภารยทรัพย์ของโจทก์เพราะจำเลยต้องใช้รถบรรทุกถังแก๊สเข้าไปจอดในร้านเพื่อความปลอดภัยของประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ที่ดินภารยทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1388 จำเลยไม่มีสิทธิกระทำเช่นนั้นได้ ทั้งจำเลยสามารถทำทางขึ้นลงเป็นการชั่วคราวแทนการเทคอนกรีตเป็นการถาวรได้ การที่จำเลยทำทางลาดเข้ามาในที่ดินดังกล่าวจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
มาตรา 1388 เจ้าของสามยทรัพย์ไม่มีสิทธิทำการเปลี่ยนแปลงในภารยทรัพย์หรือในสามยทรัพย์ซึ่งทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์
ปรึกษากฎหมายโทร📞 080-9193691,☎️ 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 ไลน์ @closelawyercmi