closelawyer@gmail.com       080-919-3691

โดยหลักของกฎหมายนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์  มาตรา 1566 บัญญัติให้ “ บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา ” ทั้งนี้ทั้งนั้น อำนาจในการปกครองบุตรนั้นมีได้เฉพาะแต่บิดาและมารดาที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ในประเด็นของมารดาไม่มีอะไรที่น่าเป็นห่วง เนื่องจาก โดยผลของกฎหมาย บุตรย่อมเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย “ เสมอ ”  แต่ที่เป็นประเด็น คือ ในส่วนของบิดา

กรณีของบิดา จะเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายได้นั้น มาตรา 1547 บัญญัติว่า “ เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร ”

บิดาได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของบุตร ไม่ว่าจะจดทะเบียนอยู่ก่อน ขณะ หรือจดทะเบียนสมรสขึ้นในภายหลัง ผลของจากจดทะเบียนสมรสในภายหลังดังกล่าวย่อมมีผลทำให้ความเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายนั้นมีผลย้อนหลังไปถึงบุตรที่เกิดก่อนอันเป็นผลทำให้เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาได้

แต่ในปัจจุบัน การอยู่กินฉันสามีภรรยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสกัน และมีบุตรด้วยกัน  แต่ต่อมาภายหลัง เกิดการทะเลาะเบาะแว้งกันจนนำไปสู่การเลิกราและแยกทางจากกัน แต่ในหลาย ๆ ครั้งปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ตัวของบุตรนั้นได้อยู่ในความดูแลของบิดา ปู่ย่า หรือครอบครัวของฝ่ายบิดา ซึ่งเป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีเช่นนี้ ต้องตอบว่า แม้ในทางพฤตินัย หรือในความเป็นจริงนั้นบุตรหรือเด็กจะอยู่ในความดูแลของบิดา หรือเลี้ยงโดยปู่ย่า หรือครอบครัวของบิดา แต่เมื่อบิดาที่ดูแลบุตรมิได้เป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย หากมารดาของบุตรต้องการให้ส่งบุตรของตนคืน  บิดาของบุตรจึงจำต้องส่งบุตรคืน “ เนื่องจากอำนาจปกครองของมารดาซึ่งมีต่อบุตร แต่ในส่วนของตน(บิดา) นั้นไม่มีสิทธิในส่วนนี้ ”

ประเด็นในเรื่องนี้มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่เคยตัดสินไว้ ดังนี้

อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3780/2543  โจทก์จำเลยอยู่กินด้วยกันโดยไม่จดทะเบียนสมรสซึ่งตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 บัญญัติว่า เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น ดังนั้น จึงถือได้ว่าเด็กชาย จ. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์และมิใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ดังนั้นอำนาจปกครองเด็กชาย จ. นั้น ต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 1566 วรรคหนึ่ง คือต้องอยู่กับโจทก์ซึ่งเป็นมารดาฝ่ายเดียว เมื่อจำเลยมิได้เป็นบิดาตามความหมายของมาตรา 1566 ดังกล่าว การตกลงระหว่างโจทก์จำเลยที่ให้เด็กชาย จ. อยู่ในความปกครองของจำเลยจึงไม่มีผลผูกพันเป็นเหตุให้จำเลยมีอำนาจปกครองเด็กชาย จ. ตามมาตรา 1566 วรรคสอง (6) จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของเด็กชาย จ. ให้อยู่กับตนตามมาตรา 1567 (1) ได้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยส่งมอบเด็กชาย จ. คืนจากจำเลยตามมาตรา 1567 (4)

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 1567 ผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิ

(1) กำหนดที่อยู่ของบุตร

(2) ทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน

(3) ให้บุตรทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป

(4) เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย

ปรึกษากฎหมายโทร📞 080-9193691,☎️ 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 ไลน์ @closelawyercmi

บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีสิทธิในตัวบุตร มารดาซึ่งมีอำนาจปกครองบุตร ย่อมสามารถฟ้องเรียกบุตรคืนจากสามีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้
Scroll to top
error: Content is protected !!