closelawyer@gmail.com       080-919-3691

ดารา นักแสดงมีสิทธิอะไรที่กฎหมายคุ้มครองบ้าง ?
 
สิทธิของนักแสดง (performers rights)
“นักแสดง” หมายความว่า ผู้แสดง นักดนตรี นักร้อง นักเต้น นักรำ และผู้ซึ่งแสดงท่าทาง ร้อง กล่าว พากย์ แสดงตามบทหรือในลักษณะอื่นใด (มาตรา 4)
 
สิทธินักแสดง เป็นสิทธิข้างเคียงที่ไม่ถือเป็นสิทธิในลิขสิทธิ์ และเพิ่งได้รับความคุ้มครองเป็นครั้งแรกตามที่บัญญัติไว้ในมาตรามาตรา 44-53
 
นักแสดงเป็นเพียงผู้แสดงตามบท หรือเป็นผู้ถ่ายทอดงานวรรณกรรมหรือนาฏกรรมหรือดนตรีกรรมไปสู่ สาธารณชน มิใช่ผู้สร้างสรรค์งานวรรณกรรมหรือดนตรีกรรม กฎหมายจึงให้ความคุ้มครองอย่างสิทธิข้างเคียง แสดงอาจเป็นแคบภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ ละครร้อง นักดนตรี นักร้อง นัน นักว่า ไม่ว่าจะเป็นนัก เต้นโขนรามเกียรติ์ นัก นาฏศิลป์ นักเต้นบัลเล่ต์ ผู้แสดงท่าทางตามบท เช่น ผู้แสดงละครไป ผู้ร้อง ผู้แสดงกล่าว ตามบท ผู้พากย์ภาพยนตร์ ถือเป็นนักแสดง หรือผู้พากย์ในลักษณะอื่นก็ถือว่าเป็นนักแสดง เช่น ผู้พากย์การแข่งขัน กีฬาที่มีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ แต่ในกรณีของนักกีฬา โดยปกติแล้วไม่ถือว่าเป็นนักแสดง เพราะมิได้มีการ แสดงตามบทวรรณกรรม นาฏกรรม หรือดนตรีกรรมแต่อย่างใด แต่เป็นการเล่นกีฬาชนิดต่าง ๆ ไปตามที่ฝึกซ้อมมา จนเกิดทักษะในการเล่นกีฬาชนิดนั้น สถาบันติวกฎหมาย
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3332/2555 การได้สิทธิของนักแสดงที่จะได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 นั้น จะต้อง มีองค์ประกอบที่บุคคลที่จะแสดงนั้นเป็นไปตามบทนิยามคำว่า นักแสดง ใน มาตรา 4 และสิ่งที่แสดงหรือการกระทำ อันเกี่ยวกับการแสดงของนักแสดงที่จะได้รับความคุ้มครองนั้น จะต้องเป็นงานวรรณกรรมหรือนาฏกรรมหรือดนตรี กรรมอันมีลิขสิทธิ์ด้วยเท่านั้น แต่คดีนี้ตามคำฟ้องโจทก์ทั้ง 2 ไม่ได้บรรยายฟ้องแสดงให้เห็นเป็นประเด็นให้วินิจฉัยว่า การ การเดินค้าตามท้องมีการทำนาที่ประกอบขึ้นเป็นเรื่องราวในลักษณะงานกันมีสิทธิ์ประเภท นาฏกรรมได้อย่างไร จึงไม่อาจพิจารณาวินิจฉัยและฟังว่าการแสดงการเดินแบบนี้เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ประเภทนาฎกรมโดยตัวเองหรือเป็นการแสดงงานอันมีลิขสิทธิ์ประเภทนาฏกรรมอยู่แล้ว ดังนั้น แม้โจทก์ทั้งสองจะเป็นนักแสดหรือผู้สดทางในการเดินแบบ ก็ยังไม่อาจถือได้ว่าให้สิทธิของนักแสดง จึงไม่อาจฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ละเมิดสิทธิของนักแสดงของโจทก์ทั้งสอง
 
การคุ้มครองสิทธินักแสดงแบ่งเป็น 2 สิทธิ คือ
1. สิทธิแต่เพียงผู้เดียวตามมาตรา 44
2. สิทธิในการได้รับค่าตอบแทนตามมาตรา 45
ข้อสังเกต
นักแสดงที่จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 44 หรือ 45 นั้นจะต้องเข้าเงื่อนไขตามมาตรา 47 และ มาตรา 48 คือ
1 สัญชาติ คือ เป็นนักแสดงที่มีสัญชาติไทย
2 หลักดินแดน เป้นนักแสดงที่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร
3 การแสดงทั้งหมดหรือการแสดงส่วนใหญ่เกิดขึ้นในประเทศไทยหรือในประเทศภาคีที่คุ้มครองสิทธินักแสดง
สิทธิแต่เพียงผู้เดียวตามมาตรา 44
 
มาตรา 44 “นักแสดงย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการกระทำอันเกี่ยวกับการแสดงของตนดังต่อไ ต่อไปนี้
(1) แพร่เสียงแพร่ภาพ หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งการแสดง เว้นแต่จะเป็นการแพร่เสียงแพร่ภาพ หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนจากสิ่งบันทึกการแสดงที่มีการบันทึกไว้แล้ว
(2) บันทึกการแสดงที่ยังไม่มีการบันทึกไว้แล้ว
(3) ทำซ้ำซึ่งสิ่งบันทึกการแสดงที่มีผู้บันทึกไว้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากนักแสดง หรือสิ่งบันทึกการแสดง ที่ได้รับอนุญาตเพื่อวัตถุประสงค์อื่น หรือสิ่งบันทึกการแสดงที่เข้าข้อยกเว้นการละเมิดสิทธิของนักแสดงตาม มาตรา 53″
สิทธิในการได้รับค่าตอบแทนตามมาตรา 45
 
มาตรา 45 “ผู้ใดนำสิ่งบันทึกเสียงการแสดงซึ่งได้นำออกเผยแพร่เพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้าแล้ว หรือ นำสำเนาของงานนั้นไปแพร่เสียงหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยตรง ให้ผู้นั้นจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นธรรมแก่ นักแสดง ในกรณีที่ตกลงค่าตอบแทนไม่ได้ ให้อธิบดีเป็นผู้มีคำสั่งกำหนดค่าตอบแทน ทั้งนี้โดยให้คำนึงถึง อัตราค่าตอบแทนปกติในธุรกิจประเภทนั้น
คำสั่งของอธิบดีตามวรรคหนึ่ง คู่กรณีอาจอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการได้ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งของอธิบดี คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด”
 
ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954
หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @closelawyercmi
หรือ คลิก https://lin.ee/Zu2JmNU
ดารา นักแสดงมีสิทธิอะไรที่กฎหมายคุ้มครองบ้าง
Scroll to top
error: Content is protected !!