ของหมั้นหรือสินสอด คืนกันอย่างไร
เมื่อมีกรณีที่จะต้องมีการคืนของหมั้นหรือสินสอดนั้น มีหลักและวิธีการคืน ซึ่งจะต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1437 วรรคท้าย บัญญัติว่า “ …ถ้าจะต้องคืนของหมั้นหรือสินสอดตามหมวดนี้ ให้นำบทบัญญัติ มาตรา 112 ถึง มาตรา 418 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้วยจากมิควรได้มาใช้บังคับโดยอนุโลม… “
1. ของหมั้นหรือสินสอดนั้นเป็นเงินหรือทรัพย์สิน
1.1 ถ้าของหมั้นหรือสินสอดเป็นเงินตรา ฝ่ายหญิงมีหน้าที่ต้องคืนเงินเพียงส่วนที่เหลือในขณะเรียกคืน
ตามมาตรา 412 ในกรณีที่ฝ่ายหญิงรับเงินที่เป็นของหมั้นหรือสินสอดไว้โดยสุจริต หากฝ่ายหญิงนำเงินซึ่งเป็นของ หมั้นหรือสินสอดไปซื้อทรัพย์สินอื่นมา หรือได้ทรัพย์สินอื่นมานั้นต้องคืนให้ฝ่ายชายด้วยเพราะถือเป็นช่วงทรัพย์ ตามมาตรา 2525 ซึ่งการคืนเงินตราที่เป็นของหมั้นหรือสินสอดนี้คืนแต่เฉพาะต้นเงินเท่านั้น แม้ฝ่ายหญิงจะได้นำ เงินไปลงทุนทำประโยชน์หรือได้ดอกเบี้ยเพิ่มพูนขึ้นมาเพราะดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์นี้ตกเป็นของฝ่ายหญิง แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อฝ่ายชายยื่นฟ้องเรียกของหมั้นหรือสินสอดคืนแล้วก็มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในเงินจำนวน ดังกล่าวนับแต่วันฟ้องคดีได้เพราะถือว่าฝ่ายหญิงตกอยู่ในฐานะทุจริตตั้งแต่เวลาที่เรียกตื่นแล้ว
1.2 ของหมั้นหรือสินสอดเป็นทรัพย์สินอื่นที่มิใช่เงินตรา ฝ่ายหญิงมีหน้าที่ต้องคืนทรัพย์สินนั้นใน สภาพที่เป็นอยู่ในเวลาเรียกคืน ฝ่ายหญิงไม่ต้องรับผิดชอบในการที่ทรัพย์นั้นสูญหายหรือบุบสลายแต่อย่างใด และแม้การสูญหายหรือบุบสลายนั้นจะเกิดเนื่องจากความผิดของตนก็ตาม กฎหมาย
คำพิพากษาฎีกาที่6305/2556 ต. เป็นผู้ขอถอนหมั้น ป. ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นบิดามารดาของ ต. เป็นฝ่าย มิดสัญญาหมั้น การที่จำเลยทั้งสองน่าเงินที่เป็นของหมั้นไปขยายให้แก่ ต. และจำเลยทั้งสองซึ่งรับเงินของหมั้น มาโดยสุจริตจึงต้องคืนลาภมิควรได้เพียงส่วนขณะเมื่อเรียกคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1437 วรรคสี่ ประกอบมาตรา 412 และต้องนำเงินที่นำไปซื้อรถจำนวน 250,000 บาทมาหักออกจากเงินสดของหมั้นที่จำเลยทั้งสองรับไว้ 440,000 บาท เมื่อรวมกับเงินที่ได้จากการขายรถจำนวน 250,000 บาทคงเหลือเงินที่เป็นของของหมั้นเพียง ซึ่งเป็นบิดามารดาของ 400,000 บาท จำเลยทั้งสองต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบิดามารดาของ
2. หากทรัพย์ที่ส่งมอบให้นั้น ไม่ใช่ของหมั้นหรือสินสอด ย่อมไม่มีสิทธิเรียกคืน
คำพิพากษาฎีกาที่ 993/2540 โจทก์ตกลงแต่งงานกับจำเลยที่ 3 โดยวิธีผูกข้อมือแสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 3 มิได้มี เจตนาจะทำการสมรสโดยจดทะเบียนสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1457 ดังนั้น ทรัพย์สินที่โจทก์มอบให้จำเลยทั้ง สองจึงไม่ใช่ของหมั้น เพราะไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์มอบให้จำเลยทั้งสามเพื่อเป็นหลักฐานการหมั้นและประกันว่า จะสมรสกับจำเลยที่ 3 และไม่ใช่สินสอดเพราะไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 บิดามารดาของจำเลยที่ 3 เพื่อตอบแทนการที่จำเลยที่ 3 ยอมสมรสตามมาตรา 1437 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกคืน การที่จำเลยที่ 3 ไม่ยอมให้โจทก์ร่วมหลับนอนนั้นเป็นสิทธิของจำเลยที่ 3 เพราะการสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 3 จะทำได้ ต่อเมื่อจำเลยที่ 3 ยินยอมเป็นสามีภริยากับโจทก์ตามมาตรา 1458 การที่จำเลยที่ 3 ไม่ยินยอมหลับนอนกับโจทก์ ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์หรือผิดสัญญาหมั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนหรือค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามตามมาตรา 1439 และมาตรา 1440
3. หากฝ่ายที่ตกลงจะให้สินสอดผิดสัญญาไม่ยอมทำการสมรสด้วย เช่นนี้ อีกฝ่ายหนึ่งยังมีสิทธิเรียกสินสอดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่.1312/2557 ในวันหมั้นฝ่ายจำเลย ประกอบด้วยจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 โดยมี จำเลยที่ 4 และที่ 5 เป็น สักขีพยานตกลงว่าจะให้สินสอดแก่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1437 วรรคสาม บัญญัติว่า สินสอดเป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรธรรมหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิงแล้วแต่กรณี เพื่อตอบ แทนการที่หญิงยอมสมรส ข้อตกลงจะให้สินสอดจึงผูกพันฝ่ายชายและฝ่ายหญิงมีสิทธิเรียกเอาสินสอดจากฝ่าย ชายผู้ตกลงจะให้ได้ เมื่อกรณีไม่มีการสมรสอันเนื่องมาจากความผิดของฝ่ายชาย โจทก์ที่ 2 และที่ 3 มีสิทธิเรียก นอกจากจ่าย 1 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6385/2551 การที่โจทก์ที่ 2 ตกลงหมั้นหมายกับจำเลยที่ 2 นั้น แสดงว่าโจทก์ที่ 2 ประสงค์ที่จะใช้ชีวิต ร่วมกับจำเลยที่ 2 และในฐานะคู่หมั้นโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นฝ่ายหญิงย่อมต้องคาดหวังในตัวจำเลยที่ 2 ว่า จะเป็นผู้ที่ สามารถนำพาครอบครัวที่จะเกิดขึ้นในอนาคตไปสู่ความเจริญและมั่นคง การที่โจทก์ที่ 2 พยายามปลูกจำเลยที่ 2 ให้ตื่นเพื่อให้ไปช่วยรดน้ำข้าวโพดอันเป็นงานที่อยู่ในวัยที่จำเลยที่ 2 จะช่วยเหลือได้ แต่จำเลยที่ 2 กลับ คลอด ซ้ำยังหลบเข้าไปในห้อง เมื่อโจทก์ที่ 2 ตามเข้าไปก็กระโดดหนีออกทางประตูหลังบ้าน แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 หาเอาใจใส่ช่วยเหลือคู่หมั้นของตนตามที่ควรจะเป็น จึงย่อมเป็นธรรมดาที่โจทก์ที่ 2 จะรู้สึกไม่พอใจและ แสดงออกซึ่งความรู้สึกไม่พอใจดังกล่าว ส่วนการที่โจทก์ที่ 2 ใช้มีดจัดกลอนประตูห้อง รวมทั้งการวิ่งไล่ตามและ จบหน้าจำเลยที่ 2 แม้จะเป็นเรื่องไม่เหมาะสมและเงินเลยไปบ้าง แต่ก็เชื่อว่าเป็นเรื่องของอารมณ์ชั่ววูบเท่านั้น หา ใช้เป็นนิสัยที่แท้จริงของโจทก์ที่ 2 ไม่ ทั้งนี้เพราะจำเลยที่ 2 และโจทก์ที่ 2 รู้จักกันมาตั้งแต่ทั้งสองฝ่ายยังเป็นเด็ก ย่อมต้องทราบนิสัยใจคอของกันและกันเป็นอย่างดี หากโจทก์ที่ 2 มีความประพฤติไม่ดีจำเลยที่ 2 คงไม่ไปขอ หมั้นโจทก์ที่ 2 เป็นแน่ หลังเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ยังไปบ้านโจทก์ที่ 2 จำเลยที่ 1 พยายามไกล่เกลี่ยให้จำเลยที่ 2 สมรสกับโจทก์ที่ 2 แสดงว่าฟาเลยทั้งสองไม่ได้ถือสาเรื่องดังกล่าวเป็นสาระสําคัญและโกรธเคียงโจทก์ที่ 2 การ กระทำของโจทก์ที่ 2 ดังกล่าวจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงคู่หมั้นอันทำให้ชายไม่สมควรสมรส กับหญิงนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ยอมสมรสกับโจทก์ที่ 2 จึงถือว่าจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น โจทก์ทั้งสอง จึงไม่ต้องตีนรองหมั้น และมีสิทธิเรียกให้จำเลยทั้งสองชำระค่าใช้จ่ายอันสมควรในการเตรียมการสมรสได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1440 (2) และสาเหตุที่จำเลยที่ 2 ไม่ยอมสมรสกับโจทก์ที่ 2 นั้น เนื่องจากจำเลยทั้งสองอ้างว่ามี เหตุสำคัญอันเกิดแก่โจทก์ที่ 2 ดังนั้น กำหนดวันสมรสจึงไม่ใช่ข้อสำคัญที่จะนำมาพิจารณาว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิด สัญญาหมั้น จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าการหมั้นได้กำหนดวันสมรสไว้ช่วงหน้าหรือไม่
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1437 วรรคสาม บัญญัติไว้ว่า “สินสอด เป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองฝ่ายหญิงแล้วแต่กรณีเพื่อตอบแผนการที่หญิงยินยอมสมรส ถ้าไม่มีการสมรส โดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงหรือโดยมีพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ ทำให้ขายไม่สมควรหรือไม่อาจ สมรสกับหญิงนั้น ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองตกลงว่าจะให้สินสอดแก่โจทก์ที่ 1 เพื่อ เป็นการตอบแทนที่โจทก์ที่ 2 เมสมรสด้วย แต่การสมรสระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลยที่ 2 ไม่ได้เกิดขึ้น เพราะ จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกสินสอดจากจำเลยทั้งสองได้
4. หากฝ่ายชายไม่ทราบว่าหญิงมีอายุไม่เกิน 17 ปี จะถือว่าชำระหนี้ตามอำเภอใจตามมาตรา 427 ไม่ได้
ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954
หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @closelawyercmi
หรือ คลิก https://lin.ee/Zu2JmNU
ของหมั้นหรือสินสอด คืนกันอย่างไร