closelawyer@gmail.com       080-919-3691

ใครเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยว่าเป็นคดีผู้บริโภคหรือไม่ ?
 
กฎหมายได้กำหนดบุคคลที่มีอำนาจวินิจฉัยไว้เพียงคนเดียวคือ ประธานศาลอุทธรณ์ ในกรณีนี้หมายความเฉพาะประธานศาลอุทธรณ์กลาง ไม่รวมถึงประธานศาลอุทธรณ์ภาคด้วย
ในการขอให้วินิจฉัยนั้นแม้ว่าข้อเท็จจริงในคดีที่ขอให้วินิจฉัยจะมีลักษณะอย่างเดียวกันกับคดีอื่นที่ประธานศาลอุทธรณ์ได้เคยวินิจฉัยมาแล้ว หากว่าคำร้องขอให้วินิจฉัยนั้นได้ยื่นมาโดยชอบตามกำหนดระยะเวลาที่กำหนดไว้แล้ว ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจที่จะวินิจฉัยคดีดังกล่าวเอง
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ 682-683/2556 ในข้อนี้ข้อเท็จจริงในสำนวนปรากฏว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งทั่วไปซึ่งศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องและคำให้การแล้ว เห็นว่า คดีมีประเด็นข้อพิพาทไม่ยุ่งยากจึงงดชี้สองสถานโดยกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกวันที่ 14 มีนาคม 2555 ก่อนที่จะถึงวันนัดสืบพยาน ดังกล่าวเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2555 จำเลยยื่นคำร้องอ้างว่าคดีนี้เป็นคดีผู้บริโภค การที่ศาลชั้นต้นรับฟ้องเป็นคดีแพ่งทั่วไปเป็นการไม่ชอบ ขอให้ศาลชั้นต้นส่งเรื่องให้ประธานศาลอุทธรณ์วินิจฉัย เมื่อคดีนี้ไม่มีการชี้สองสถานจำเลยย่อมสามารถยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นส่งเรื่องไปให้ประธานศาลอุทธรณ์วินิจฉัยได้อย่างช้าในวันสืบพยาน เมื่อจำเลยยื่นคำขอภายในกำหนดระยะเวลาตามกฎหมายแล้ว ทั้งกฎหมายกำหนดให้ประธานศาลอุทธรณ์เป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยแต่เพียงผู้เดียวว่าคดีใดเป็นคดีผู้บริโภคหรือไม่ โดยกฎหมายหาได้กำหนดว่า หากประธานศาลอุทธรณ์ได้เคยวินิจฉัยปัญหาในคดีใดไว้เป็นบรรทัดฐานแล้ว ให้ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจไม่ต้องส่งเรื่องไปให้วินิจฉัยได้ ดังนั้น ศาลชั้นต้นจึงมีหน้าที่ต้องส่งเรื่องตามที่จำเลยโต้แย้งไปให้ประธานศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งปฏิเสธไม่ส่งเรื่องไป จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ จึงมีเหตุอันสมควรที่จะเพิกถอนคำพิพากษาและคำสั่งของศาลชั้นต้นตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (2) ประกอบพระราชบัญญัติ วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7
 
ผลของคําวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด
 
คำวินิจฉัยไม่กระทบกับกระบวนพิจารณาใด ๆของศาลชั้นต้น ที่ได้กระทำไปก่อนมีคำวินิจฉัยนั้น ก่อนที่จะมีคำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์ว่าคดีนั้นเป็นคนละประเภทกับคดีที่ได้ยื่นฟ้องไว้ ในคดีอาจมีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยแล้วหรือจำเลย อาจยื่นคำให้การแล้วและศาลรับคำให้การไว้แล้ว แม้ต่อมาประธานศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัย ว่าไม่ใช่คดีตามลักษณะที่ดำเนินการอยู่นั้นกระบวนพิจารณาต่างๆ ที่ดำเนินการมาแล้วก็ ไม่ต้องถูกกระทบแต่อย่างใด
 
 
การดำเนินการตามคำวินิจฉัย
 
ในกรณีที่ประธานศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยคดีตามที่โจทก์ได้ยื่นฟ้องไว้ เช่น โจทก์ยื่นฟ้องเป็นคดีแพ่งสามัญไว้ จำเลยยื่นคำร้องให้ประธานศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเป็นคดีผู้บริโภคหรือไม่ ประธานศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า มิใช่คดีผู้บริโภค เช่นนี้ ศาลชั้นต้นก็พิจารณาคดีดังกล่าวนั้นต่อไป
ในกรณีที่ประธานศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยแตกต่างจากประเภทคดีที่ได้ยื่นฟ้องไว้ กล่าวคือ ในกรณีที่มีการฟ้องเป็นคดีผู้บริโภคไว้ ประธานศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าไม่ใช่คดีผู้บริโภค หรือในกรณีที่ยื่นฟ้องเป็นคดีแพ่งสามัญไว้ แต่ประธานศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเป็นคดีผู้บริโภค เช่นนี้มีผลให้ต้องดำเนินคดีตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแตกต่างจากที่ศาลรับฟ้องไว้ แต่กระบวนพิจารณาต่าง ๆ ที่ดำเนินการมาแล้วไม่เสียไป กรณีนี้ควรมีการจำหน่ายคดีออกจากสารบบเดิมและลงสารบบเลขใหม่ดำเนินคดีต่อไป ตามลักษณะที่ประธานศาลอุทธรณ์วินิจฉัยโดยโจทก์ไม่ต้องไปยื่นฟ้องใหม่หรือจำเลยก็ไม่ต้องยื่นคำให้การใหม่อีกแต่อย่างใด ทั้งการดำเนินการดังกล่าวยังสอดคล้องกับความ มุ่งหมายของกฎหมายที่จะไม่ให้การวินิจฉัยเกี่ยวกับประเภทคดีไปกระทบกระบวนการพิจารณาที่ดำเนินการไปแล้วโดยชอบ และสอดคล้องกับบทบัญญัติในมาตรา 4 วรรค หนึ่ง ที่ว่า “…ไม่กระทบถึงกระบวนพิจารณาใด ๆ ที่ได้กระทำไปก่อนที่จะมีค่า วินิจฉัยนั้น
 
แต่อย่างไรก็ตาม ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาฎีกาที่ 16390/2557 ว่า ศาลชั้นต้นจะสั่งให้โจทก์ไปฟ้องเป็นคดีใหม่เข้ามาก็ได้
 
ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 ,ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 ,02-0749954
หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @cly.cmi
หรือ คลิก https://lin.ee/hCbTQl6
สาขาขอนแก่น โทร 095-9567735 แอดไลน์ @cly.kkn
หรือ คลิก https://lin.ee/U10ElNk
www.closelawyer.co.th
#ทนายใกล้ตัว
ใครเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยว่าเป็นคดีผู้บริโภคหรือไม่
Scroll to top
error: Content is protected !!