closelawyer@gmail.com       080-919-3691

กรณีที่ชายและหญิงคู่ใด ตกลงปลงใจไปจดทะเบียนหย่าขาดจากกัน แต่มิทราบถึงว่าสามารถกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรแนบท้ายการหย่าได้ และสามารถบังคับใช้ได้ตามที่ได้ลงบันทึกข้อตกลง หากฝ่ายที่ได้สัญญาไว้ไม่กระทำตามสามารถนำข้อความดังกล่าวมาฟ้องร้องบังคับคดีต่อกันได้ เพื่อประโยชน์ของบุตรผู้เยาว์

หรือหากกรณีที่ได้มีการฟ้องหย่าขาดจากกัน ศาลก็ชอบที่จะสามารถกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูให้แก่ฝ่ายที่จำต้องเลี้ยงดูบุตรได้ โดยพิเคราะห์จากรายรับของฝ่ายที่ไม่ได้เป็นผู้เลี้ยงดูบุตร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1522 วรรค 2

อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2971/2544 บันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนการหย่ามิได้กล่าวว่าให้อำนาจปกครองบุตรอยู่กับโจทก์หรือจำเลย กรณีต้องถือว่าโจทก์จำเลยต่างเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรร่วมกันตามมาตรา 1566 วรรคหนึ่งส่วนมาตรา 1522 วรรคหนึ่งนั้น มีความหมายเพียงว่าในการหย่าโดยความยินยอม สามีและภริยาอาจตกลงกันในบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเท่าใด หากมิได้กำหนดศาลก็ย่อมเป็นผู้กำหนดจำนวนเงินให้ได้ตามสมควรตามมาตรา 1522 วรรคสอง เมื่อข้อความตามบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่า ไม่ใช่ข้อตกลงเรื่องออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเท่าใด ดังนั้นศาลจึงมีอำนาจกำหนดให้จำเลยออกค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ และหลังจดทะเบียนหย่าในปี 2537 จำเลยมิได้ให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ โจทก์จึงเรียกให้จำเลยรับผิดจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลังตั้งแต่ปี 2537จนถึงวันฟ้องได้

มาตรา 1522  ถ้าสามีภริยาหย่าโดยความยินยอม ให้ทำความตกลงกันไว้ในสัญญาหย่าว่าสามีภริยาทั้งสองฝ่าย หรือสามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเงินเท่าใด

ถ้าหย่าโดยคำพิพากษาของศาลหรือในกรณีที่สัญญาหย่ามิได้กำหนดเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ ให้ศาลเป็นผู้กำหนด

ปรึกษากฎหมายโทร📞 080-9193691,☎️ 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 ไลน์ @closelawyercmi

หญิงหรือชายใดเมื่อได้จดทะเบียนหย่า ย่อมสามารถทำบันทึกข้อตกลงแนบท้ายการหย่าโดยกำหนดว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ออกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเท่าใด
Scroll to top
error: Content is protected !!