closelawyer@gmail.com       080-919-3691

การหมั้นไม่เป็นเหตุให้ศาลบังคับให้สมรสได้
การสมรสเป็นเรื่องที่ชายหญิงต้องยินยอมพร้อมใจกันทั้งสองฝ่าย และต้องกระทำด้วยความสมัครใจและโดยปราศจากการข่มขู่บังคับ ดังนั้น แม้ฝ่ายชายหรือหญิงได้ทำสัญญาหมั้นกันแล้ว ต่อมามาหากฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงเกิดเปลี่ยนใจไม่ประสงค์ที่จะทำการสมรสกันก็จะมาฟ้องร้องขอให้ศาลบังคับให้ศาลมีคำสั่งให้สมรสกันตามสัญญาหมั้นไม่ได้ เนื่องจากสภาพแห่งสัญญาหมั้น ดังกล่าวไม่เปิดช่องให้บังคับกันได้เหมือน เช่นสัญญาอื่น ๆทั่วไป อีกทั้งหากมีข้อตกลงกันว่าถ้าหมั้นแล้ว ภายหลังต่อมาไม่สามารถสมรสได้ ฝ่ายที่ผิดสัญญาต้องชดใช้เบี้ยปรับ ข้อตกลงนั้นก็ตกเป็นโมฆะใช้ไม่ได้ ส่วนสัญญาหมั้น ยังคงสมบูรณ์และฝ่ายที่เสียหายยังมีสิทธิในการเรียกค่าทดแทนต่าง ๆ ได้ตามกฎหมาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๓๘ การหมั้นไม่เป็นเหตุที่จะร้องขอให้ศาลบังคับให้สมรสได้ ถ้าได้มีข้อตกลงกันไว้ว่าจะให้เบี้ยปรับในเมื่อผิดสัญญาหมั้น ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ
คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๓๗/๒๔๘๑ ชายหญิงตกลงทำการสมรสและทำพิธีแต่งงานตามประเพณีแล้ว แต่ฝ่ายหญิงไม่ยอมจดทะเบียนสมรส เช่นนี้ชายจะมาฟ้องบังคับให้จดทะเบียน สมรสไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๕๖๘/๒๕๑๘ โจทก์ได้เสียกับจำเลยโดยถูกจำเลยหลอกลวงว่าจะเลี้ยงดูเป็นภริยาเมื่อโจทก์ตั้งครรภ์จำเลยไม่เลี้ยงดู โจทก์จึงแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนพนักงานสอบสวนเรียกจำเลยไปจำเลยรับว่าได้เสียกับโจทก์จริงรับจะเลี้ยงดูโจทก์เป็นภริยาพนักงานสอบสวนจึงแนะนำให้โจทก์จำเลยไปจดทะเบียนสมรสกันให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไปและได้ทำบันทึกให้โจทก์จำเลยลงชื่อไว้ แต่โจทก์ก็ไม่เลี้ยงดูหรือจดทะเบียนสมรสกับจำเลยดังนี้ แม้จำเลยจะหลอกลวงว่าจะเลี้ยงดูโจทก์เป็นภริยาการกระทำของจำเลยก็หาเป็นการละเมิดต่อโจทก์ไม่ โจทก์จึงฟ้องเรียกค่าเสียหายเพราะเหตุดังกล่าวไม่ได้ (นัยคำพิพากษาฎีกาที่๕๗๖/๒๔๘๘) และโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายโดยอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาตามบันทึกของพนักงานสอบสวนเพราะมิได้มีข้อกำหนดว่าจำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายในกรณีที่มีการผิดสัญญาดังกล่าวและมิใช่กรณีผิดสัญญาหมั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๓๘/๑๔๓๙ ด้วย
คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๔๙/๒๕๓๑ โจทก์ผู้เยาว์ยินยอมให้จำเลยที่ ๑ กระทำชำเราโดย ความสมัครใจ ซึ่งแม้ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อบิดาโจทก์ทราบเรื่องได้ไปร้องเรียน ต่อกำนันท้องที่ จำเลยที่ ๑ ก็ได้ทำสัญญากับโจทก์ว่า จำเลยที่ ๑ จะจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ หากผิดสัญญายินยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท และจำเลยที่ ๒ ได้ลงชื่อ เป็นผู้ค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาของจำเลยที่ ๑ ด้วย ต่อมาจำเลยที่ ๑ ผิดสัญญาไม่จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ แม้มิใช่เป็นกรณีผิดสัญญาหมั้น โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องเรียกร้องให้ จําเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามสัญญาได้
คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๔๖๕/๒๕๒๖ สัญญาที่โจทก์ (หญิง) นำมาฟ้องจำเลย (ชาย) มีว่า ให้จำเลยจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ หากจำเลยไม่ยอมให้ถือว่าเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องใช้ ค่าเสียหายนั้น เป็นสัญญาที่ไม่มีกฎหมายสนับสนุน เพราะไม่ใช่สัญญาหมั้น ไม่อาจบังคับกัน ได้ ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๔๓๙ ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้น ฝ่ายนั้นต้องรับผิดใช้ค่าทดแทน ฉะนั้น การตกลงจะสมรสโดยไม่มีการหมั้นจึงอยู่นอกขอบเขตที่กฎหมายรับรองไว้ และจะนำบทบัญญัติทั่วไปว่าด้วยนิติกรรมมาใช้ในกรณีเช่นนี้ก็ไม่ได้ เพราะบทบัญญัติว่า ด้วยการหมั้นและการสมรส ป.พ.พ. ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว
คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๓๙๒/๒๕๔๒ ภายหลังจากโจทก์กับจำเลยที่ ๑ ทําสัญญา หมั้น และแต่งงานตามประเพณีแล้ว ได้อยู่กินร่วมหลับนอนกันที่บ้านของจำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็น มารดาจำเลยที่ ๑ นานถึง 6 เดือน โดยโจทก์มิได้ประกอบอาชีพใด เอาแต่เที่ยวเตร่และเล่น การพนัน แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ ๑ มิได้รังเกียจในตัวโจทก์นอกจากความประพฤติ การที่ ทั้งโจทก์และจำเลยที่ ๑ สมัครใจอยู่กินด้วยกันเป็นเวลานานโดยมิได้ไปจดทะเบียนสมรส จึงเกิดจากการละเลยของทั้งสองฝ่ายที่มิได้ยึดถือเอาการจดทะเบียนสมรส เป็นเรื่องสำคัญมากกว่าการที่จะได้อยู่กินด้วยกันตามประเพณีเท่านั้น จึงมิอาจกล่าว โทษได้ว่าการที่มิได้ไปจดทะเบียนสมรสเกิดจากความผิดของฝ่ายใด แม้ต่อมามีการทำบันทึกตกลงกันว่าทั้งสองฝ่ายจะไปจดทะเบียนสมรสให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป แต่เมื่อโจทก์ยังมิได้ปลูกบ้านในที่ดินของจำเลยที่ ๒ ตามข้อตกลง การที่จำเลยที่ ๑ ปฏิเสธไม่ยอม ไปจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ จึงยังไม่อาจถือว่าจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น
ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954
หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @closelawyercmi
หรือ คลิก https://lin.ee/Zu2JmNU
การหมั้นไม่เป็นเหตุให้ศาลบังคับให้สมรสได้
Scroll to top
error: Content is protected !!