closelawyer@gmail.com       080-919-3691

พินัยกรรมมีกี่แบบ และต่างกันอย่างไร ?
พินัยกรรม คือ กำหนดการเผื่อตาย ในเรื่องทรัพย์สินของผู้ทำพินัยกรรม หรือในเรื่องสิทธิ และหน้าที่ต่างๆ ซึ่งพินัยกรรมจะมีผลบังคับต่อเมื่อ “ผู้ทำพินัยกรรมได้เสียชีวิตไปแล้ว”
ลักษณะสำคัญของพินัยกรรม
1. เป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของผู้ตาย
ผู้ทำพินัยกรรมได้แสดงเจตนากำหนดในเรื่องทรัพย์สินของตนว่าเมื่อตนตายไปแล้วจะให้ทรัพย์สินเป็นของผู้ใด หรือจะให้ผู้ใด จัดการทรัพย์สินในส่วนนั้นอย่างไร
2. เป็นการแสดงเจตนาครั้งสุดท้ายในเรื่องทรัพย์สินของผู้ตาย
คำสั่งดังกล่าวจะต้องเป็นคำสั่งครั้งสุดท้าย เหตุเพราะระหว่างผู้ตายยังมีชีวิตผู้ตายอาจทำพินัยกรรมไว้หลายฉบับ
ซึ่งอาจมีข้อความขัดกันหรือแตกต่างกันออกไป ดังนั้น จึงต้องกำหนดว่าให้ถือ บังคับตามพินัยกรรมซึ่งทำเป็นคำสั่งสุดท้าย ส่วนพินัยกรรมฉบับก่อนๆ ก็ให้เป็นอันสิ้นผลไป
3. พินัยกรรมต้องทำตามแบบที่กฎหมายกำหนด
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้กำหนดรูปแบบของพินัยกรรมไว้หลายรูปแบบ ซึ่งหากทำนอกเหนือหรือแตกต่างไป
จากที่กฎหมายกำหนด จะทำให้พินัยกรรมฉบับนั้นตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลในทางกฎหมาย
พินัยกรรมมีกี่แบบ
1. พินัยกรรมแบบธรรมดา
วิธีทำพินัยกรรมแบบธรรมดานี้ “ผู้ทำพินัยกรรม” จะต้องทำเป็นหนังสือไม่ว่าจะเขียนด้วยตนเองหรือให้ผู้อื่นเขียนตามความต้องการของผู้ทำพินัยกรรม ซึ่งจะเขียนหรือพิมพ์ข้อความพินัยกรรมลงบนกระดาษก็ได้ พร้อมทั้งระบุรายละเอียดเกี่ยวทรัพย์สินว่าจะยกทรัพย์สินนั้นให้แก่ใคร หรือให้ใครเป้นผู้จัดการ และต้องลงวันเดือนปีที่ทำให้ชัดเจน สำหรับวิธีนี้ ผู้ทำจะต้องลงลายมือชื่อต่อหน้า “พยาน” อย่างน้อย 2 คนพร้อมกัน และพยาน 2 คนต้องลงลายมือชื่อรับรองการทำพินัยกรรมในขณะทำด้วย โดยสิ่งสำคัญคือ พยานผู้ลงชื่อในพินัยกรรม จะต้องไม่เป็นผู้ที่ได้ทรัพย์สินตามที่พินัยกรรมได้ระบุไว้
2.พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ
วิธีทำพินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ มีลักษณะเฉพาะคือ ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องเขียนด้วยลายมือของตนเองทั้งฉบับ โดยจะมี
พยานหรือไม่มีพยานลงลายมือชื่อในพินัยกรรมประเภทนี้ก็ได้ ซึ่งนับได้ว่าเป็นพินัยกรรมที่ทำได้ง่าย
3.พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
วิธีทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องยื่นคำร้องต่อที่ว่าการอำเภอ หรือเขต โดยต้องไปให้ถ้อยคำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้มีการบันทึกความประสงค์ของตนเกี่ยวกับเรื่องทรัพย์สิน พร้อมด้วยพยานอย่างน้อย 2 คน ที่จะต้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรมฉบับดังกล่าว โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ทำพินัยกรรมจะลงลายมือชื่อในพินัยกรรมด้วย
4.พินัยกรรมแบบเอกสารลับ
ผู้ทำพินัยกรรมต้องทำพินัยกรรม (จะพิมพ์หรือเขียนก็ได้) พร้อมลงลายมือชื่อของตนเอง โดยลักษณะพิเศษของพินัยกรรมแบบลับ คือ ผู้ทำพินัยกรรมต้องปิดผนึกพินัยกรรมฉบับดังกล่าว และลงลายมือชื่อทับรอยปิดผนึก จากนั้นต้องนำพินัยกรรมไปแสดงต่อเจ้าพนักงานต่อที่ว่าการอำเภอ หรือเขต พร้อมด้วยพยานอย่างน้อย 2 คน โดยผู้ทำพินัยกรรม, พยาน และเจ้าหน้าที่ต้องลงลายมือชื่อไว้หน้าซองตรงที่ปิดผนึก
5.พินัยกรรมด้วยวาจา
เป็นพินัยกรรมซึ่งแตกต่างจากพินัยแบบอื่น เนื่องจากหากจะต้องทำพินัยกรรมด้วยวาจานั้น จะต้องมีเหตุหรือพฤติการณ์พิเศษ เช่น อยู่ในภาวะสงคราม หรือในสถานที่อันตราย ซึ่งผู้ทำพินัยกรรมต้องแสดงเจตนาด้วยทางวาจา ต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน โดยพยานจะต้องไปให้ถ้อยคำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อที่ว่าการอำเภอ หรือเขต เพื่อให้เจ้าพนักงานทำการบันทึกถ้อยคำตามที่ผู้ทำพินัยกรรมได้ให้ไว้
พินัยกรรมเปรียบเสมือนเจตนาครั้งสุดท้ายของผู้ตาย ซึ่งจะมีผลผูกพันธ์ต่อคนรอบตัวของผู้ตายที่มีชีวิตอยู่ ดังนั้น หากในการจัดทำพินัยกรรม ทำโดยผู้รู้กฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งทนายความแล้วละก็ ก็จะเกิดผลดีและถูกต้องตามความประสงค์ของผู้ตาย
ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954
หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @closelawyercmi
หรือ คลิก https://lin.ee/Zu2JmNU
พินัยกรรมมีกี่แบบ และต่างกันอย่างไร
Scroll to top
error: Content is protected !!