ทิ่ดินสินส่วนตัว เอาไปจำนองประกันหนี้เงินกู้โดยคู่สมรสช่วยกันผ่อนหนี้ ที่ดินนั้นยังคงเป็นสินส่วนตัว
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471 สินส่วนตัวได้แก่ทรัพย์สิน
(1) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส
(2) ที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือ เครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
(3) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกหรือโดยการให้โดยเสน่หา
(4) ที่เป็นของหมั้น
1. ทรัพย์สินที่คู่สมรสฝ่ายใดมีอยู่ก่อนสมรส
ถ้าชายหญิงอยู่กินเป็นสามีภริยากันมาก่อน แล้วจดทะเบียนสมรสภายหลัง ทรัพย์ที่ได้มาร่วมกันก่อนจด ทะเบียนสมรส ย่อมไม่ใช่สินสมรส แต่ก็เป็นทรัพย์สินที่ทั้งสองมีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน หมาย
2. ทรัพย์สินที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะ หรือ
เครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
คือตามควรแก่ฐาน ทรัพย์สินเหล่านี้ แม้จะได้มาระหว่างสมรสและเอาเงินสินสมรสไปซื้อก็ตาม ต้องถือว่าเป็นสินส่วนตัว แต่จะต้องเป็นการสมควรด้วย หากว่าเกินสมควรแก่ฐานะแล้วต้องถือว่าเป็นสินสมรส
3. ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกหรือโดยการให้โดยเสน่หา
เรื่องนี้เราจัดว่าเป็นเรื่องเฉพาะตัว เนื่องจากว่าเป็นการอาศัยความสัมพันธ์เฉพาะตัวให้ได้มา กฎหมายจึง กำหนดให้เป็นสินส่วนตัว การเป็นทายาทจะเป็นทายาทโดยธรรมหรือทายาทโดยพินัยกรรมก็ได้ทั้งสิ้น
4. ทรัพย์สินที่เป็นของหมั้น
สินส่วนตัวชนิดนี้มีได้แต่เฉพาะภริยาเท่านั้น อันที่จริงของหมั้นย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของหญิงตั้งแต่ที่ ชายได้มอบให้แก่หญิงแล้ว จึงเข้า (1) แล้ว แต่กฎหมายก็กำหนดเอาไว้อีกชั้นหนึ่งว่าให้ตกเป็นสินส่วนตัว
ดังนั้น หากคู่สมรสฝ่ายใดนำที่ดินซึ่งเป็นสินส่วนตัวไปจำนองประกันหนี้เงินกู้ โดยที่คู่สมรสอีกฝ่ายได้มีการช่วยกันหรือร่วมกันผ่อนชำระหนี้ดังกล่าวแล้วก็ยังคงเป็นสินส่วนตัวของฝ่ายนั้น ไม่อาจถือได้ว่าเป็นสินสมรส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3943/2561 การที่ผู้ร้องซื้อที่ดินพิพาทแล้วจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท ก่อนที่ผู้ ร้องกับจำเลยจะจดทะเบียนสมรสกัน ย่อมถือได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องมีอยู่ก่อนสมรสและเป็นสิน ส่วนตัวของผู้ร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1471 (1) ส่วนการที่ต่อมาผู้ร้องนำที่ดินพิพาทที่ซื้อได้กรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของ ไปจดทะเบียนจำนองประกันหนี้เงินกู้ก็เป็นสิทธิ ผู้ร้องที่สามารถทำได้ และการที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาจะร่วม ผ่อนชำระด้วย ก็เป็นเพียงการช่วยชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ผู้ร้องเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของร่วมกับผู้ ร้องในที่ดินพิพาท เมื่อผู้ร้องเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทอันเป็นสินส่วนตัว ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดไว้ คือที่ดินพิพาทได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 (เดิม)
บ้านพิพาทบนที่ดินเป็นบ้านตึกสองชั้นที่ก่อสร้างขึ้นใหม่แทนบ้านหลังเดิมที่เป็นบ้านตึกชั้นเดียว แต่ยังคง ใช้เลขที่บ้านตามเดิมและด้วยเงินที่ได้มาระหว่างสมรสของผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 และผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 ใช้บ้านหลัง ดังกล่าวเป็นที่อยู่อาศัยร่วมกัน พฤติการณ์แสดงให้เห็นว่าบ้านพิพาทก่อสร้างขึ้นโดยได้รับความยินยอมและอยู่ใน ความรู้เห็นของผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทอันถือได้ว่าเข้าข้อยกเว้นในกรณีที่ผู้มีสิทธิในที่ดินของผู้อื่นใช้สิทธิ ปลูกสร้างไว้ในที่ดินนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 146 และไม่ถือว่าบ้านพิพาทเป็นทรัพย์ส่วนควบของที่ดินอันจะตก เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องแต่ผู้เดียวตาม ป.พ.พ. มาตรา 144 หากแต่บ้านพิพาทเป็นสินสมรสไม่ใช่สินส่วนตัว จึง ยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกันของจำเลยที่ 1 กับผู้ร้อง เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของร่วมในบ้านพิพาทด้วย ผู้ร้องจึงไม่ มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดไว้ในส่วนบ้านพิพาทได้
ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954
หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @closelawyercmi
หรือ คลิก https://lin.ee/Zu2JmNU
ทิ่ดินสินส่วนตัว เอาไปจำนองประกันหนี้เงินกู้โดยคู่สมรสช่วยกันผ่อนหนี้ ที่ดินนั้นยังคงเป็นสินส่วนตัว