กรณีการกักขังหน่วงเหนี่ยวนั้นสามารถทำได้หลายทาง หลายวิธี โดยไม่จำต้องใช้กำลังเสมอ เพียงแค่พูดจาข่มขู่จนมีเหตุทำให้ผู้ถูกข่มขู่กลัวก็สามารถเป็นความผิดฐานกักขังหน่วงเหนี่ยวได้ โดยใช้คำพูดว่า “หากไม่ทำตามจะใช้ปืนที่อยู่ในมือนั้นยิงให้ตาย” หรือ “หากออกไปจะเผาบ้านทิ้งซะแล้วถือถังน้ำมันอยู่ในมือ”
จนผู้ถูกข่มขู่มีเหตุทำให้ต้องกลัวและจำยอมตามที่ผู้ข่มขู่ได้กระทำลงไป ถือเป็นความผิดตามกฎหมายอาญามาตรา 310 มีโทษจำคุกและปรับ
ตัวอย่าง นาย ก ข่มขู่ นาง ข ว่าหากไม่รักตนไม่หลงตนเหมือนเคยและห้ามออกจากห้องจนกว่าตนจะอนุญาต ไม่อย่างนั้นจะนำสุนัขที่เลี้ยงไว้ไปฆ่าให้ตาย จะตามจองเวนไปจนตายและในมือของตนมีอาวุธมีดอยู่ในเมือ ซึ่งนาง ข เป็นคนที่รักสุนัขเหมือนลูกกลัวว่าหากทำให้นาย ก ไม่พอใจหรือไม่ยอมต่อนาย ก จะเกิดอันตรายแก่สุนัขและตนเอง ทำให้ตนต้องจำยอมตามคำขู่ของนาย ก
อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741/2563 การกระทำที่ถือว่าเป็นความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังนั้นเป็นการกระทำด้วยประการใด ๆ โดยไม่จำกัดวิธีการ เพียงแต่ให้สำเร็จผลเป็นการหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังหรือให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ขณะผู้เสียหายอยู่กับจำเลยในบ้าน จำเลยพูดข่มขู่ว่าจะฆ่าผู้เสียหายหากผู้เสียหายออกไปจากบ้านเกิดเหตุ ผู้เสียหายรู้สึกกลัว จึงไม่ได้ออกไปไหน การกระทำของจำเลยจึงครบองค์ประกอบความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังหรือกระทำด้วยประการใดให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกายตาม ป.อ. มาตรา 310 วรรคหนึ่ง
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 ได้บัญญัติไว้ว่า ” ผู้ใดหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่น หรือกระทำด้วยประการใดให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ”
ปรึกษากฎหมายโทร📞 080-9193691,☎️ 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 ไลน์ @closelawyercmi