closelawyer@gmail.com       080-919-3691

ผู้เสียหายในคดีอาญา มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทน ในคดีที่อัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องได้
 
         เมื่อมีการกระทำความผิดอาญากันเกิดขึ้น จนมีผู้เสียหายและทำให้เกิดความเสียหายทางแพ่งแก่ผู้เสียหายพนักงานอัยการจะดำเนินการตามมาตรา 43 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เรียกทรัพย์สินหรือให้ใช้ราคาทรัพย์คืนให้แก่ผู้เสียหาย แต่หากความเสียหายเช่นว่านั้น พนักงานอัยการไม่สามารถดำเนินการให้ได้ตามมาตรา 43 ผู้เสียหายก็สามารถยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนก็ได้ตามมาตรา 44/1 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
 
         ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1 บัญญัติว่า “ ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือได้รับความเสื่อมเสียต่อเสรีภาพในร่างกาย ชื่อเสียงหรือได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลย ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนก็ได้
 
         การยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่ง ผู้เสียหายต้องยื่นคำร้องก่อนเริ่มสืบพยาน ในกรณีที่ไม่มีการสืบพยานให้ยื่นคำร้องก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดี และให้ถือว่าคำร้องดังกล่าวเป็นคำฟ้องตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและผู้เสียหายอยู่ในฐานะโจทก์ในคดีส่วนแพ่งนั้น ทั้งนี้ คำร้องดังกล่าวต้องแสดงรายละเอียดตามสมควรเกี่ยวกับความเสียหายและจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่เรียกร้อง หากศาลเห็นว่าคำร้องนั้นยังขาดสาระสำคัญบางเรื่อง ศาลอาจมีคำสั่งให้ผู้ร้องแก้ไขคำร้องให้ชัดเจนก็ได้ “
 
หลักเกณฑ์ตามาตรา 44/1
 
         1. เป็นกรณีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดี เป็นกรณีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดีเท่านั้นโดยไม่จำกัดฐานความผิด ผู้เสียหายสามารถยื่นคำร้องตามมาตรา 44/1 ได้ หากเป็นกรณีที่ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องคดี ผู้เสียหายรายอื่นไม่สามารถยื่นคำร้องตามมาตรา 44/1 ได้ หรือในกรณีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยร่วมกัน จำเลยคนหนึ่งจะยื่นคำร้องตามมาตรา 44/1 ไม่ได้
ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 ต้องพิจารณาตามที่กฎหมายกำหนดไว้และข้อเท็จจริงในขณะที่ยื่นคำร้องว่าเป็นผู้เสียหายหรือไม่ เมื่อบทบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้ผู้เสียหายเท่านั้นที่ยื่นคำร้องได้และขณะยื่นคำร้องจำเลยที่ 2 ไม่ใช่ผู้เสียหาย จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามบทบัญญัติงกล่าว และเมื่อผู้เสียหายได้ยื่นคำร้องดังกล่าวแล้ว ย่อมถือว่าผู้เสียหายเป็นโจทก์ในคดีส่วนแพ่ง
 
         2. ผู้เสียหายต้องมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทน ผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือได้รับความเสื่อมเสียต่อเสรีภาพในร่างกายชื่อเสียงหรือได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลย แต่อย่างไรก็ดี ในกรณีที่พนักงานอัยการได้ดำเนินการตามมาตรา 43 เรียกให้คืนทรัพย์สินหรือให้ใช้ราคาทรัพย์สินนั้นแล้ว ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องตามมาตรา 44/1 ให้คืนทรัพย์สินหรือใช้ราคาทรัพย์สินที่พนักงานอัยการดำเนินการนั้นไว้ไม่ได้ คงได้แต่เฉพาะในส่วนที่พนักงานอัยการไม่ได้ดำเนินการขอไว้ เพื่อมิให้เป็นการซ้ำซ้อนกัน
 
ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954
หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @closelawyercmi
หรือ คลิก https://lin.ee/Zu2JmNU
ผู้เสียหายในคดีอาญา มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทน ในคดีที่อัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องได้
Scroll to top
error: Content is protected !!